fbpx

หน่วยวัดทางไฟฟ้าน่ารู้ น่าสนใจ ที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน

  • Home
  • เกร็ดความรู้
  • หน่วยวัดทางไฟฟ้าน่ารู้ น่าสนใจ ที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน
ปกบทความหน่วยวัดทางไฟฟ้า

หน่วยวัดทางไฟฟ้าน่ารู้ น่าสนใจ ที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน

การใช้ชีวิตประจำวันตั้งแต่ตื่นนอนไปจนถึงการหลับพักผ่อนนั้นจะต้องใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ จึงทำให้ต้องใช้ไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา หรือตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น ในบทความนี้จึงได้รวบรวมหน่วยวัดกระแสไฟฟ้าที่เป็นหน่วยวัดพื้นฐานทางไฟฟ้าที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อที่จะได้รู้ว่าแต่ละหน่วยวัดคืออะไร และจะได้ใช้ไฟฟ้าได้อย่างถูกวิธีมากขึ้น

หน่วยวัดทางไฟฟ้าคืออะไร

หน่วยวัดทางไฟฟ้าคืออะไร?

หน่วยวัดไฟฟ้า คือ หน่วยที่ใช้ในการแยกหน่วยของระบบไฟฟ้า และใช้ในการวัดปริมาณทางไฟฟ้า ซึ่งหน่วยวัดทางไฟฟ้าดังกล่าวนั้นเป็นหน่วยที่ถูกใช้เป็นมาตรฐานสากล และสามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 6 หน่วย ได้แก่ แรงเคลื่อนไฟฟ้า, กระแสไฟฟ้า, ความต้านทานไฟฟ้า, กำลังไฟฟ้า, พลังงานไฟฟ้า และความถี่ โดยแต่ละหน่วยวัดกระแสไฟฟ้านั้นมีรายละเอียด ดังนี้

แรงเคลื่อนไฟฟ้า (Voltage)

แรงเคลื่อนไฟฟ้า (Voltage) หรือเรียกอีกชื่อว่าแรงดันไฟฟ้า คือ แรงดันที่ทำให้กระแสไฟฟ้านั้นเกิดการเคลื่อนที่ผ่านความต้านทานของวงจรระหว่างจุดสองจุด หรือทำให้อิเล็กตรอนประจุลบเคลื่อนที่ไปยังอิเล็กตรอนประจุบวก เพื่อทำให้กระแสไฟฟ้านั้นเกิดการไหลอยู่ในวงจร โดยแรงเคลื่อนไฟฟ้านั้นจะมีหน่วยวัดกระแสไฟฟ้าเป็น “โวลต์” (Volt) และใช้สัญลักษณ์ย่อเป็นตัว “V” เช่น 220V หรือ 220 โวลต์ เป็นต้น ซึ่งเป็นหน่วยวัดกระแสไฟฟ้าที่ผู้ที่สนใจน่าจะรู้กันเป็นอย่างดี หรืออาจทำให้ผู้ที่สนใจคลายข้อสงสัยได้แล้วว่า โวลต์คือหน่วยวัดอะไร โดยหน่วยย่อยของโวลต์ที่เป็นหน่วยวัดแรงดันไฟฟ้า มีดังนี้

    • 1,000 ไมโครโวลต์ (µV) เท่ากับ 1 มิลลิโวลต์ (mV)
    • 1,000 มิลลิโวลต์ (mV) เท่ากับ 1 โวลต์ (V)
    • 1,000 โวลต์ (V) เท่ากับ 1 กิโลโวลต์ (kV)
หน่วยวัดกระแสไฟฟ้า

กระแสไฟฟ้า (Current)

กระแสไฟฟ้า (Current) คือ การไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าที่เป็นการไหลของอิเล็กตรอนผ่านตัวนำ หรืออุปกรณ์ต่างๆ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ที่ทำให้กระแสไฟฟ้ามีการเคลื่อนที่ หรือไหลจากจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงไปยังจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่า โดยกระแสไฟฟ้านั้นจะมีหน่วยวัดกระแสไฟฟ้าเป็น “แอมแปร์” (Ampere) และใช้สัญลักษณ์ย่อเป็นตัว “A” และหน่วยย่อยของแอมแปร์ที่เป็นหน่วยวัดกระแสไฟฟ้า มีดังนี้

    • 1,000 ไมโครแอมแปร์ (µA) เท่ากับ 1 มิลลิแอมแปร์ (mA)
    • 1,000 มิลลิแอมแปร์ (mA) เท่ากับ 1 แอมแปร์ (A)

ซึ่งกระแสไฟฟ้านั้นยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่ กระแสตรง และกระแสสลับ โดยแต่ละแบบนั้นมีรายละเอียด ดังนี้

กระแสตรง (Direct Current)

ไฟฟ้ากระแสตรง เป็นไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลของประจุไฟฟ้าที่คงที่ และไหลไปทิศทางเดียวกัน ทำให้มีกระแสไฟฟ้าที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้โอกาสในการเกิดอันตรายน้อยกว่าไฟฟ้ากระแสสลับ โดยไฟฟ้ากระแสตรงนั้นมักจะเกิดจากแบตเตอรี่ เซลล์แสงอาทิตย์ หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง และมักจะพบในอุปกรณ์อิเล็ทรอนิกส์ขนาดเล็ก อุปกรณ์อิเล็กทรอกนิกส์ที่ใช้คู่กับแบตเตอรี่ หรืออุปกรณ์ที่สามารถนำไฟฟ้ากระแสสลับมาเปลี่ยนเป็นกระแสตรงได้ เป็นต้น

กระแสสลับ (Alternating Current)

ไฟฟ้ากระแสสลับ เป็นไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลของประจุไฟฟ้าที่ไหลกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็ว ทำให้กระแสไฟฟ้านั้นมีรูปร่างเหมือน Sine Wave และในบางครั้งก็คล้ายกับสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยม อีกทั้งยังเป็นกระแสไฟฟ้าที่ค่อนข้างสูง จึงทำให้มีความอันตรายสูงมากเช่นกัน ซึ่งไฟฟ้ากระแสสลับนั้นถูกส่งมาจากโรงงานไฟฟ้าโดยตรง และมักจะนำมาใช้งานตามบ้านเรือน หรืออาคารทั่วไป เป็นต้น

ความต้านทานไฟฟ้า (Resistance)

ความต้านทานไฟฟ้า (Resistance) คือ หน่วยวัดกระแสไฟฟ้าที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างแรงดัน และกระแสไฟฟ้าของวัตถุที่ขึ้นอยู่กับความต้านทานของวัตถุชนิดนั้นๆ เช่น วัตถุที่มีความต้านทานต่ำก็จะปล่อยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปได้ง่าย หรือวัตถุที่มีความต้านทานสูงก็จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปได้ยาก เป็นต้น โดยหน่วยวัดของความต้านทานไฟฟ้านั้นจะมีหน่วยเป็น “โอห์ม” (Ohm) และใช้สัญลักษณ์ย่อเป็นตัว “R” หรือ “Ω” และหน่วยย่อยของโอห์มที่เป็นหน่วยวัดของความต้านทานไฟฟ้า มีดังนี้

    • 1,000 โอห์ม (Ω) เท่ากับ 1 กิโลโอห์ม (kΩ)
    • 1,000 กิโลโอห์ม (kΩ) เท่ากับ 1 เมกะโอห์ม (MΩ)

ซึ่งวัตถุที่เกี่ยวกับความต้านทานไฟฟ้านั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ได้แก่ ตัวนำไฟฟ้า, ฉนวนไฟฟ้า และสารกึ่งตัวนำ โดยแต่ละวัตถุนั้นมีรายละเอียด ดังนี้

ตัวนำไฟฟ้า (Conductor)

ตัวนำไฟฟ้า หรือ Conductor เป็นวัตถุที่มีความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าต่ำ จึงทำให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านได้ง่าย โดยวัตถุที่เป็นตัวนำไฟฟ้านั้นเป็นวัตถุที่พบเจอได้ง่าย เช่น ทองแดง, ทองเหลือง, เงิน, อะลูมิเนียม, กรดกำมะถัน, สังกะสี, นิกเกิล, ตะกั่ว, สารละลายของกรดเกลือ หรือน้ำเกลือ เป็นต้น

ฉนวนไฟฟ้า (Insulator)

ฉนวนไฟฟ้า หรือ Insulator เป็นวัตถุที่มีความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าสูงมาก จึงทำให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านได้ยาก หรือในบางวัตถุก็ไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ โดยวัตถุที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้านั้นมีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นพลาสติก, ยาง, แก้ว, กระเบื้อง, ผ้า, กระดาษ หรือไม้แห้ง รวมถึงสายไฟ, ด้ามจับพลาสติก, ถุงมือ หรือรองเท้า เป็นต้น

สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor)

สารกึ่งตัวนำ หรือ Semiconductor เป็นวัตถุที่มีความเป็นกลางระหว่างตัวนำไฟฟ้า และฉนวนไฟฟ้า ที่สามารถปล่อยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ และสามารถควบคุมการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้าได้ โดยวัตถุที่เป็นสารกึ่งตัวนำนั้นจะมีส่วนผสม หรือส่วนประกอบของสารที่มีคุณสมบัติดังกล่าว เช่น คาร์บอน, ซิลิกอน หรือเจอร์มาเนียม เป็นต้น

กำลังไฟฟ้า (Electric Power)

กำลังไฟฟ้า (Electric Power) คือ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปในเวลา 1 วินาที โดยค่ากำลังไฟฟ้านั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ไดร์เป่าผม 1,000 วัตต์ เมื่อใช้ไดร์เป่าผมก็จะต้องใช้พลังงานไฟฟ้า 1,000 วัตต์ หรือจูลต่อวินาที เป็นต้น ซึ่งเครื่องไฟฟ้าแต่ละชนิดนั้นจะใช้พลังงานไฟฟ้ามากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับชนิด และขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วย โดยหน่วยวัดกระแสไฟฟ้าของกำลังไฟฟ้านั้นจะมีหน่วยเป็น “วัตต์” (Watt) และใช้สัญลักษณ์ย่อเป็นตัว “W” หรือใช้หน่วยเป็นจูล (ต่อวินาที) ที่เขียนเป็นสมการได้ว่า

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) = พลังงานไฟฟ้า (จูล)/เวลา (วินาที)

ซึ่งหน่วยย่อยของวัตต์ที่เป็นหน่วยวัดกระแสไฟฟ้า มีดังนี้

    • 1,000 มิลลิวัตต์ (mW) เท่ากับ 1 วัตต์ (W)
    • 1,000 วัตต์ (W) เท่ากับ 1 กิโลวัตต์ (kW)
    • 1,000 กิโลวัตต์ (kW) เท่ากับ 1 เมกะวัตต์ (MW)
หน่วยวัดพลังงานไฟฟ้า

พลังงานไฟฟ้า (Electric Energy)

พลังงานไฟฟ้า (Electric Energy) คือ หน่วยวัดกระแสไฟฟ้าที่แสดงถึงอัตรการใช้พลังงานไฟฟ้าไปในระยะเวลาหนึ่ง โดยพลังงานไฟฟ้านั้นเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่นำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่สำคัญ หรือจำเป็นต่อการอำนวยความสะดวกให้กับการดำเนินชีวิต หรือทำกิจวัตรประจำวัน ซึ่งหน่วยวัดกระแสไฟฟ้าของพลังงานไฟฟ้านั้นจะเป็น “วัตต์ชั่วโมง” (Watt-Hour) และใช้สัญลักษณ์ย่อเป็นตัว “Wh” หรือใช้หน่วยเป็น “ยูนิต” ซึ่ง 1,000 วัตต์ชั่วโมง เท่ากับ 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง หรือเท่ากับ 1 ยูนิต ที่จะนำไปใช้ในการคำนวณค่าไฟฟ้าตามบ้าน โดยพลังงานไฟฟ้านั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ไฟฟ้าสถิต และไฟฟ้ากระแส ที่มีรายละเอียด ดังนี้

    • ไฟฟ้าสถิต Static Electricity หรือ Electrostatic Charges เป็นพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากการนำวัตถุ 2 ชนิดมาทำการขัด ถู หรือสี จนทำให้ประจุไฟฟ้าที่อยู่ภายในวัตถุนั้นเกิดการเคลื่อนที่ และทำให้วัตถุนั้นเกิดพลังงานไฟฟ้า หรือแสดงอำนาจไฟฟ้าได้
    • ไฟฟ้ากระแส (Current Electricity) เป็นพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าที่มีการไหลผ่านตัวนำไฟฟ้า จึงทำให้พลังงานไฟฟ้าเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยไฟฟ้ากระแสนั้นยังสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 รูปแบบ ได้แก่ ไฟฟ้ากระแสตรง และไฟฟ้ากระแสสลับ

ความถี่ (Frequency)

ความถี่ (Frequency) คือ หน่วยวัดกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการวัดความถี่ หรือจำนวนรอบของกระแสไฟฟ้าต่อวินาที โดยค่าความถี่นั้นจะใช้กับกระแสไฟฟ้าที่เป็นไฟฟ้ากระแสสลับเท่านั้น และมีหน่วยวัดกระแสไฟฟ้าเป็น “เฮิร์ต” (Hertz) และใช้สัญลักษณ์ย่อเป็นตัว “Hz” ซึ่งค่าความถี่ของกระแสไฟฟ้านั้น 1 Hz หรือ 1 เฮิร์ต เท่ากับ 1 รอบต่อวินาที และส่วนใหญ่นั้นจะอยู่ประมาณที่ 50 Hz หรือ 60 Hz แต่ในประเทศไทยนั้นจะมีค่าความถี่ของกระแสไฟฟ้าอยู่ที่ 50 Hz ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศเกาหลีใต้นั้นมีค่าความถี่ของกระแสไฟฟ้าอยู่ที่ 60 Hz ดังนั้น ค่าความถี่ของกระแสไฟฟ้าในแต่ละประเทศนั้นจะมีความแตกต่างกันไป

หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว อาจทำให้ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับไฟฟ้าได้รู้จักกับหน่วยวัดกระแสไฟฟ้าที่สามารถพบเจอได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันกันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความหมายของหน่วยวัดไฟฟ้า หรือหน่วยวัดกระแสไฟฟ้าต่างๆ เช่น แรงเคลื่อนไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ความต้านทานไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า หรือความถี่ เป็นต้น รวมถึงกระแสไฟฟ้ารูปแบบต่างๆ เช่น ไฟฟ้ากระแสตรง ไฟฟ้ากระแสสลับ หรือไฟฟ้าสถิต เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้เรียนรู้ถึงชื่อเรียกของหน่วยวัดกระแสไฟฟ้าต่างๆ เช่น โวลต์, วัตต์, โอห์ม, แอมแปร์, วัตต์ชั่วโมง, จูล หรือเฮิร์ต เป็นต้น ซึ่งการที่รู้ความหมาย หรือรู้ว่าแต่ละหน่วยวัดทางไฟฟ้าคืออะไร และใช้กับอะไรบ้าง ก็จะช่วยให้คุณสามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และประหยัดได้มากยิ่งขึ้น