ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านดีไหม พร้อมวิธีประหยัดค่าไฟและพลังงานหลังติดตั้ง
รถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบันเพราะไม่ต้องใช้น้ำมัน ช่วยลดโลกร้อนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ต้องมีการชาร์จรถไฟฟ้า ซึ่งหลายคนอาจจะอยากชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน และเกิดคำถามขึ้นมาว่าจะดีจริงหรือไม่ จะช่วยประหยัดไฟได้ไหม บทความนี้จะพาไปดูว่าการติดตั้งตัวชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านดีอย่างไร คำนวณค่าไฟต่อการชาร์จเท่าไร พร้อมวิธีลดค่าไฟ ประหยัดพลังงานหลังติดตั้ง

ติดตั้งตัวชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ดีอย่างไร
ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าหลายคนเริ่มหันมาติดตั้งตัวชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน เพราะมีข้อดีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความสะดวกสบาย เนื่องจากช่วยลดความจำเป็นในการหาสถานีชาร์จ ประหยัดต้นทุน เพราะโดยทั่วไปการชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านจะมีราคาถูกกว่าการใช้สถานีสาธารณะมาก สามารถลดลงได้สูงสุดถึง 50% เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ มีความยืดหยุ่น เพราะเจ้าของรถสามารถชาร์จรถตามกำหนดเวลาของตนเองได้โดยไม่ต้องกังวลกับความพร้อมของสถานีชาร์จสาธารณะ นอกจากนี้การชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านยังช่วยให้เจ้าของรถสามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้ตามต้องการ แทนที่จะต้องรอจนกว่าแบตเตอรี่หมดจึงชาร์จใหม่ วิธีนี้สามารถช่วยลดเวลาในการชาร์จและรับประกันว่ารถจะพร้อมเสมอสำหรับการเดินทางครั้งต่อไป
หากกำลังวางแผนติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน อ่านวิธีการเตรียมความพร้อมก่อนติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ต้องทำอย่างไรบ้าง? ได้ที่นี่
ติดตั้งตัวชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ราคาเท่าไร
การติดตั้งตัวชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านจะมีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 35,000 – 75,000 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าเปลี่ยนมิเตอร์ : อยู่ที่ประมาณ 4,700 บาท (หากมิเตอร์ได้มาตรฐานอยู่แล้ว อาจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน)
- ค่า EV Charger : อยู่ที่ประมาณ 35,000 – 75,000 บาท (ขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อของ EV Charger)

ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน เสียค่าไฟแพงไหม
โดยรวมแล้วค่าไฟชาร์จรถไฟฟ้าจาก 0 – 100% ต่อ 1 ครั้ง จะอยู่ที่หลักร้อยบาท ซึ่งนับว่าไม่แพงเมื่อเทียบกับราคาค่าน้ำมัน โดยมีหลักการคำนวณดังนี้
ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน คำนวณค่าไฟอย่างไร
ค่าไฟชาร์จรถไฟฟ้าจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ความจุแบตเตอรี่ ยิ่งความจุแบตเตอรี่สูง ยิ่งใช้ไฟชาร์จมาก อัตราการกินไฟของรถ อัตราค่าไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับประเภทบ้าน ประเภทของมิเตอร์และช่วงเวลาที่ชาร์จ หากใช้มิเตอร์แบบ TOU และชาร์จหลังเวลา 22:00 น. จะประหยัดไฟมากกว่า
ตัวอย่างการคำนวณค่าชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน
ตัวอย่างการคำนวณค่าไฟชาร์จรถไฟฟ้าของ รถไฟฟ้ารุ่น A ความจุแบตเตอรี่ 35 kWh กินไฟ 15 kWh/100 km ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 4.2 บาท/kWh
- ชาร์จไฟจนเต็ม: 35 kWh x 4.2 บาท/kWh = 147 บาท
วิ่งได้ 100 km: 147 บาท / 100 km = 1.47 บาท/km
ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ช่วงเวลาไหนดี
โดยปกติการชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านจะชาร์จตอนไหนก็ราคาเท่ากันหากใช้มิเตอร์แบบปกติ แต่ถ้าใช้มิเตอร์แบบ TOU จะคิดอัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลา โดยแยกเป็นช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟมาก ค่าไฟก็จะสูงกว่าปกติ แต่ถ้าเป็นช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟน้อย ค่าไฟก็จะต่ำกว่าปกติ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าช่วง Peak คือตั้งแต่เวลา 09:00 – 22:00 น. ค่าไฟจะอยู่ที่หน่วยละ 5.8 บาท และช่วง Off-peak คือตั้งแต่เวลา 22:00 – 09:00 น. ค่าไฟจะอยู่ที่หน่วยละ 2.63 บาท ดังนั้นการชาร์จรถไฟฟ้าช่วง Off-peak จึงถูกกว่านั่นเอง
ปัญหาที่พบบ่อย เมื่อชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน
แม้ว่าการชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านจะมีข้อดีมากมาย แต่ก็มักจะมีปัญหาที่พบได้บ่อยอยู่เช่นกัน ได้แก่ ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น ใช้เวลาในการชาร์จนาน อาจจะชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ได้ไม่เต็มหรือไม่มีประสิทธิภาพ หากไฟฟ้าเกิดการขัดข้องหรือระบบไฟฟ้าไม่เพียงพอ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ค่าไฟเพิ่มสูงขึ้น
รถยนต์ EV ชาร์จไฟบ้านจะทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมีการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้นตามมานั่นเอง ปริมาณพลังงานที่ใช้จะขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่ ความเร็วในการชาร์จ และความถี่ในการชาร์จด้วย ตัวอย่างเช่น Tesla Model S ที่มีแบตเตอรี่ขนาด 100 kWh จะใช้ไฟฟ้าประมาณ 30 kWh สำหรับการขับเคลื่อนทุกๆ 100 ไมล์ ดังนั้นควรประเมินการใช้งานและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นก่อนตัดสินใจติดตั้ง
ใช้เวลาชาร์จนาน
การชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านจะช้ากว่าเมื่อเทียบกับที่ชาร์จสาธารณะความเร็วสูงบางรุ่น เนื่องจากกำลังไฟฟ้าที่แตกต่างกัน สถานีชาร์จสาธารณะใช้สายชาร์จแบบมาตรฐานอุตสาหกรรมที่มีพลังงานสูง ระบบไฟฟ้าภายในบ้านมีข้อจำกัดในการรองรับกำลังไฟฟ้าสูงๆ ซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดหากคุณต้องรีบออกเดินทาง
ปัญหาไฟฟ้าติดขัด
ปัญหาไฟฟ้าติดขัด เช่น ไฟดับ หรือไฟตก สามารถก่อให้เกิดปัญหาต่อการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านได้ เนื่องจากขาดแหล่งจ่ายไฟ ทำให้ไม่สามารถส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อชาร์จแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้าได้ การชาร์จจะหยุดชะงักลงทันที ซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขก่อนจึงจะสามารถชาร์จต่อได้
ระบบไฟฟ้าไม่เพียงพอ
ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านต้องใช้กระแสไฟฟ้ากำลังสูง หากระบบไฟฟ้าภายในบ้านไม่ได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานในระดับดังกล่าว อาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ได้ เช่น ไฟตก ฟิวส์ขาด และอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ชาร์จหรือแบตเตอรี่ของรถยนต์
แก้ไขค่าไฟแพงเพราะชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ทำได้อย่างไร
การชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ค่าไฟฟ้าแพง ซึ่งมีวิธีแก้ปัญหาหลากหลายวิธี ทำได้ดังนี้
ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในช่วงเวลาค่าไฟถูก
การชาร์จรถไฟฟ้าหากชาร์จในเวลาที่เหมาะสม คือชาร์จในช่วงเวลาไฟฟ้าราคาถูก หรือที่เรียกว่า Off-Peak ซึ่งเป็นช่วงที่ค่าไฟฟ้าจะมีราคาถูกกว่าปกติ โดยจะเป็นช่วงเวลา 22:00 – 09:00 น. ก็จะทำให้ค่าไฟฟ้าไม่แพงจนเกินไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องใช้มิเตอร์ไฟฟ้าแบบพิเศษ คือแบบ TOU ด้วย
เลือกใช้ Energy Management System
ตัวชาร์จรถไฟฟ้าหรือที่เรียกว่า EV Charger ควรเลือกที่มีคุณภาพสูงและมีฟังก์ชันช่วยประหยัดไฟ อย่าง EV Charger บางรุ่นจะมีระบบจัดการพลังงานคอยควบคุมการชาร์จให้เหมาะสม หรือที่เรียกว่า Energy Management System จะคอยปรับลดกำลังไฟฟ้า เมื่อมีการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านมากขึ้น ทำให้ค่าไฟฟ้าไม่แพงจนเกินไป
ติดตั้งโซลาร์เซลล์
อีกวิธีหนึ่งในการประหยัดค่าไฟชาร์จรถไฟฟ้านั่นก็คือ การติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้ลดการใช้ไฟฟ้าจากระบบไฟฟ้าหลัก ทำให้ค่าไฟถูกลง ทั้งยังช่วยประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ข้อดีในการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อชาร์จรถไฟฟ้ามีหลายประการ ได้แก่ ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า มีความสะดวกและรวดเร็ว ช่วยลดโลกร้อน รักษาสิ่งแวดล้อม เพราะพลังงานที่ได้เป็นพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์และไม่มีวันหมด ทำให้มีความคุ้มค่า เนื่องจากมีอายุการใช้งานยาวนาน นอกจากนั้นยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอีกด้วย
ซึ่งเราแนะนำให้ใช้ Inverter จาก Chuphotic ควบคู่กับโซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยแปลงกระแสไฟฟ้า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน ช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว นอกจากนั้นยังใช้งานได้หลากหลาย โดยเป็นเครื่องที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีทีมงานวิศวกรที่มีคุณภาพรองรับปัญหาในการใช้งานทุกรูปแบบ เรามีทีมงานวิศวกรที่มีคุณภาพรองรับ
สรุป
หากจะชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน แนะนำให้ติดตั้งตัวชาร์จรถไฟฟ้า เพราะจะช่วยประหยัดค่าไฟ ทำให้การชาร์จเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูง ไม่ต้องไปตามหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้า รวมถึงยังช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย และหากต้องการให้สามารถชาร์จรถไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่ ไม่ติดขัด ปราศจากปัญหาไฟดับ ไฟตก มีไฟฟ้าที่เพียงพอ แนะนำให้ติดตั้งโซลาร์เซลล์ พร้อมเครื่อง Inverter จากทาง Chuphotic เนื่องจากเป็นเครื่องที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยสูง ได้มาตรฐาน มีขั้นตอนการผลิตที่ใส่ใจในทุกรายละเอียด พร้อมทีมงานที่คอยช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา และแนะนำอย่างใกล้ชิด