ไฟโซลาร์เซลล์ในบ้านดียังไง ตัวช่วยประหยัดค่าไฟไปพร้อมกับรักษ์โลก
ค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นในทุกๆ วัน ทำให้ในปัจจุบันหลายๆ ครัวเรือนเริ่มหันมาใช้พลังงานทดแทนอย่างไฟโซลาร์เซลล์ในบ้านกัน เพื่อประหยัดค่าไฟ พร้อมรักษ์โลกไปในตัว เพราะเป็นการลงทุนในพลังงานที่คุ้มค่า เพียงจ่ายค่าอุปกรณ์ ก็มีไฟได้ใช้งานฟรีกันแบบยาวๆ มาดูกันว่าโซลาร์เซลล์คืออะไร จำเป็นแค่ไหน ติดโซลาร์เซลล์ในบ้านดียังไง พร้อมข้อควรรู้หากอยากติดตั้งโซลาร์เซลล์
ทำความรู้จัก โซลาร์เซลล์คืออะไร
Solar Cell คืออะไร? ไปหาคำตอบกัน ซึ่งโซลาร์เซลล์ก็คืออุปกรณ์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งพลังงานทดแทนไฟฟ้า ที่ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการผลิตสารตัวกึ่งนำ ซึ่งทำหน้าที่แปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้เป็นกระแสไฟฟ้านั่นเอง ซึ่งนิยมติดโซลาร์เซลล์ใช้ในบ้าน อาคาร สำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม หรือแม้แต่พื้นที่การเกษตร เพราะช่วยประหยัดค่าไฟไปได้หลายเท่าตัว หรือสามารถใช้ทดแทนกันได้เลย
ติดตั้งโซลาร์เซลล์ในบ้าน จำเป็นอย่างไร
คุณอาจสงสัยแล้วว่า การติดตั้งโซลาร์เซลล์ใช้ในบ้านนั้นดียังไง ทำไมในหลายๆ บ้านจึงหันมาติดตั้งกัน ซึ่งมีข้อดีหลายประการ ดังนี้
1. เป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด
โซลาร์เซลล์ติดบ้านเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด เพราะมีต้นกำเนิดมาจากแสงอาทิตย์นั่นเอง ซึ่งสามารถผลิตได้อย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าอุปกรณ์ที่ใช้จะชำรุดหรือเสื่อมคุณภาพไป ซึ่งกว่าจะถึงเวลานั้นคุณก็ได้ใช้ไฟโซลาร์เซลล์ในบ้านอย่างคุ้มค่าที่สุดแล้ว
2. ช่วยประหยัดค่าไฟ
แน่นอนว่าโซลาร์เซลล์บ้านต้องช่วยประหยัดค่าไฟอยู่แล้ว เพราะสามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนไฟฟ้าหลักในบ้านได้ถึง 30-50% เลยทีเดียว ซึ่งขึ้นอยู่กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและพฤติกรรมการใช้งานได้ โดยเฉพาะคนที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด ยิ่งควรต้องมีโซลาร์เซลล์ติดบ้าน
3. ช่วยทำให้บ้านเย็น
เนื่องจากว่าการติดโซลาร์เซลล์บ้านจะมีอุปกรณ์ที่ช่วยสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์ติดไว้บนหลังคาบ้าน ซึ่งก็คือแผงโซลาร์เซลล์นั่นเอง ทำหน้าที่เสมือนเป็นหลังคาอีกชั้นหนึ่งช่วยกันความร้อนได้เป็นอย่างดี มีผลให้อุณหภูมิในบ้านลดลงประมาณ 3-5 องศาเซลเซียส ซึ่งช่วยประหยัดค่าไฟได้อีกต่อหนึ่งด้วย
4. เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
แม้ว่าการจ่ายเงินเพื่อติดตั้งไฟโซลาร์เซลล์ในบ้านจะมีราคาที่สูงในตอนแรก แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นการจ่ายเพียงครั้งเดียวเท่านั้น แล้วสามารถใช้งานกันได้อีกยาวๆ เพราะกระแสไฟฟ้าที่ได้สามารถใช้ได้อย่างไม่จำกัด ทำให้คืนทุนในระยะเวลาไม่นาน ดังนั้นจึงถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
5. เหมาะกับอากาศประเทศไทย
การติดโซลาร์เซลล์ในบ้านเหมาะกับอากาศประเทศไทยที่ร้อนระอุแทบจะทุกวัน เพราะแสงอาทิตย์ที่ส่องมานี่เองคือแหล่งพลังงานชั้นดีในการผลิตพลังงานทดแทนไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์ ซึ่งตอบโจทย์ประเทศไทยอย่างมาก เนื่องจากบ้านเราเป็นเมืองร้อนที่ตั้งอยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรนั่นเอง
6. ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ
พลังงานจากไฟโซลาร์เซลล์ในบ้านเป็นพลังงานสะอาด ปราศจากมลภาวะที่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ ไม่ได้มาจากโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า ที่อาจต้องใช้น้ำมันหรือถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าอีกที
7. ติดตั้งได้ง่าย
การติดตั้งโซลาร์เซลล์ใช้ในบ้านมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เพราะส่วนใหญ่จะมีบริการจากทางบริษัทต่างๆ ที่มาติดตั้งให้เมื่อเราซื้ออุปกรณ์นั่นเอง แถมยังมีการรับประกันชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ อีกด้วย หรือจะจ้างช่างไฟฟ้าใกล้บ้านมาช่วยติดก็ได้เช่นกัน แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน
11 ข้อควรพิจารณาก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์ในบ้าน
เมื่อเห็นข้อดีของโซลาร์เซลล์กันไปแล้ว หลายๆ คนคงอยากจะติดตั้งไฟโซลาร์เซลล์ในบ้านกันมากขึ้น มาดูข้อควรพิจารณาก่อนตัดสินใจติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อไม่ให้เงินที่ลงทุนไปเสียเปล่า มีอะไรบ้าง ไปดูกัน
1. ระยะเวลาคืนทุนนานไหม
ระยะเวลาคืนทุนของการติดโซลาร์เซลล์บ้านขึ้นอยู่กับการใช้งานของบ้านแต่ละหลัง โดยปกติแล้วจะใช้เวลาคืนทุนประมาณ 6-10 ปีขึ้นไป ยกตัวอย่างเช่น หากไฟฟ้าบ้านใช้เดือนละประมาณ 3,000 บาท แนะนำให้ติดตั้งแบบ 5 กิโลวัตต์ ค่าติดตั้งจะอยู่ที่ประมาณ 2-3 แสนบาท ก็จะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 1,000-2,000 บาท หากใช้ไฟตอนกลางวันมาก ระยะเวลาคืนทุนก็จะประมาณ 6-7 ปี แต่หากใช้ไฟตอนกลางวันน้อย ระยะเวลาคืนทุนก็จะประมาณ 10 ปี แต่ส่วนใหญ่อายุการรับประกันก็จะเกิน 10 ปีอยู่แล้ว ซึ่งเราก็สามารถใช้ได้ยาวๆ จนเกินจุดคุ้มทุนไปได้เลย
2. ไลฟ์สไตล์เป็นอย่างไร
อีกข้อหนึ่งในการพิจารณาติดโซลาร์เซลล์บ้าน ก็ต้องดูว่าเรามีไลฟ์สไตล์แบบไหนในการใช้ชีวิต ซึ่งยกตัวอย่างได้ดังนี้
- ไปทำงานตอนกลางวัน : อยู่บ้านตอนเย็นและตอนกลางคืน จะใช้ไฟค่อนข้างน้อย แนะนำให้ติดตั้งโซลาร์เซลล์ในบ้านที่กำลังวัตต์ที่ไม่มาก ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาในการคุ้มทุนที่นานมาก
- ทำงานที่บ้าน Work From Home : แบบผ่านหน้าจอคอม อาจจะเป็นการไลฟ์สดขายของ เป็นนายหน้าสินค้า หรือทำงานกับบริษัทต่างๆ ผ่านทางออนไลน์ จะใช้ไฟทั้งกลางวันและกลางคืน แนะนำให้ติดตั้งโซลาร์เซลล์กำลังวัตต์ปานกลาง ใช้เวลาในการคุ้มทุนระยะหนึ่ง
- ที่บ้านเปิดกิจการ : เป็นร้านขายของ หรืออาคาร สำนักงานและบริษัทด้วย จะใช้ไฟค่อนข้างเยอะทั้งกลางวันและกลางคืน แนะนำให้ติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่กำลังวัตต์สูง จะใช้เวลาในการคุ้มทุนที่รวดเร็ว
3. งบประมาณเพียงพอไหม
การติดโซลาร์เซลล์บ้านมีงบประมาณที่ต้องจ่ายในตอนแรกค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นค่าอุปกรณ์ต่างๆ โดยสมัยก่อนค่าติดตั้งจะแพงมาก แต่สมัยนี้ค่าติดตั้งลดลงมาอยู่ที่เฉลี่ยประมาณ 100,000 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดกับจำนวนอุปกรณ์ที่จะติดตั้ง กำลังไฟ รูปแบบของบ้าน เรตราคาของผู้ให้บริการติดตั้ง
4. อายุการใช้งานของโซลาร์เซลล์
โดยปกติไฟโซลาร์เซลล์ในบ้านมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน สูงสุดอยู่ที่ประมาณ 25-30 ปี แต่จะใช้งานได้มากหรือน้อยกว่านั้นขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาด้วย แม้จะมีผลไม่มากก็ตาม เพราะโซลาร์เซลล์เป็นอุปกรณ์ที่ดูแลง่าย
5. กำลังไฟในบ้าน
การดูกำลังไฟที่ใช้เพื่อจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ในบ้าน ให้รวมจำนวนวัตต์จากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ แล้วหารด้วย 1,000 เพื่อแปลงเป็นหน่วยกิโลวัตต์ แล้วคูณด้วยจำนวนชั่วโมงที่ใช้งาน จากนั้นคูณด้วยจำนวนวันของแต่ละเดือน จะเท่ากับจำนวนหน่วยไฟฟ้าต่อเดือน สุดท้ายคูณด้วยราคาค่าไฟฟ้าต่อ 1 หน่วย จะได้ค่าไฟฟ้าต่อเดือนมานั่นเอง ซึ่งค่าไฟฟ้าเดือนละประมาณ 3,000-4,000 บาท เหมาะกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่ขนาด 5 กิโลวัตต์
6. หลังคาบ้านแบกน้ำหนักไหวไหม
โดยทั่วไปแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 1 X 2 เมตร จะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 22 กิโลกรัม ซึ่งคุณต้องทำการตรวจสอบหลังคาบ้าน หรือให้ช่างช่วยตรวจสอบก็ได้ ว่าหลังคาบ้านสามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์บ้านได้หรือไม่ โดยดูว่ามีการรั่วซึม รอยแตกร้าวหรือไม่ วัสุดที่ใช้ทำมาจากอะไร ซึ่งอาจจะต้องทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนวัสดุปูหลังคาใหม่ก่อนติดตั้ง
7. รูปทรงของหลังคาบ้าน
รูปทรงของหลังคาก็มีผลต่อการติดตั้งโซลาร์เซลล์บ้าน โดยหลังคาแต่ละแบบจะมีความแตกต่างกันดังนี้
- หลังคาทรงจั่ว : เป็นทรงหลังคาที่สูง ลาดชัน จะเหมาะแก่การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มากที่สุด
- หลังคาทรงแหงน : สามารถติดตั้งได้เช่นกัน แต่ต้องระวังเรื่องน้ำรั่วซึม เพราะมีความลาดเอียงต่ำ
- หลังคาทางปั้นหยา : เป็นหลังคาที่มีความลาดเอียงเล็กน้อย สามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ทุกทิศ แต่จะระบายความร้อนไม่ค่อยดี
8. ทิศทางที่เหมาะสม
ทิศทางในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ใช้ในบ้านก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรพิจารณา โดยแต่ละทิศทางมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้
- ทิศตะวันออก : เป็นทิศที่เหมาะสมปานกลางในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ เพราะจะได้รับแสงแดดเพียงช่วงเช้าถึงเที่ยงเท่านั้น
- ทิศตะวันตก : จะเหมาะสมปานกลางเช่นเดียวกับทิศตะวันตก เพราะได้รับแสงแดดครึ่งวันเท่ากัน คือช่วงเที่ยงถึงเย็นนั่นเอง
- ทิศเหนือ : เป็นทิศที่ไม่เหมาะจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพราะได้รับแสงแดดน้อยที่สุด เนื่องจากในบ้านเราดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกและอ้อมไปทางทิศใต้
- ทิศใต้ : เป็นทิศที่เหมาะสมจะติดตั้งโซลาร์เซลล์มากที่สุด เพราะได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน
9. ประเภทของโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสม
แผงโซลาร์เซลล์ที่นิยมใช้ในไทยจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้
- แผงโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells) : ผลิตไฟฟ้าได้ดีแม้จะมีแสงน้อย อายุการใช้งานยาวนานประมาณ 25-40 ปี มีคุณภาพสูง แต่ก็มีราคาสูงด้วยเช่นกัน
- แผงโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells) : ต้องมีแสงมากกว่าแบบโมโนคริสตัลไลน์ถึงจะผลิตไฟฟ้าได้ดี อายุการใช้งานสั้นกว่าประมาณ 20-25 ปี แต่มีราคาที่ต่ำกว่า
- แผงโซล่าเซลล์ชนิด ฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells) : มีน้ำหนักเบาและบาง สามารถโค้งงอได้ ทนต่ออากาศร้อนได้ดี มีราคาถูก แต่มีอายุการใช้งานสั้น ผลิตไฟฟ้าได้น้อย จึงไม่เหมาะใช้กับการนำมาติดโซลาร์เซลล์บ้าน
10. เลือกผู้ติดตั้งให้ดี
เป็นจุดพิจารณาที่สำคัญในการติดไฟโซลาร์เซลล์ในบ้าน เพราะเป็นการลงทุนระยะยาวที่ต้องใช้เงินค่อนข้างสูง โดยควรเลือกผู้ติดตั้งที่ดี มีความน่าเชื่อถือ มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในการทำงาน มีการให้บริการหลังการขายและติดตั้งที่ดี มีการรับประกันสินค้า บริการซ่อมบำรุง ตรวจเช็ก และให้คำปรึกษาที่ครอบคลุม
11. เตรียมพร้อมขอติดตั้งโซลาร์เซลล์
สุดท้ายคือการเตรียมพร้อมก่อนติดตั้งโซลาเซลล์ใช้ในบ้าน ซึ่งต้องมีการขออนุญาตจากการไฟฟ้าก่อน โดยอาจกินระยะเวลานานประมาณ 1-2 เดือน เลยทีเดียว ซึ่งมีขั้นตอนและเอกสารที่ต้องเตรียมทั้งหมดดังนี้
- ขั้นตอนการยื่นขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่ใช้สำหรับบุคคล
- ยื่นใบอนุญาตขอก่อสร้างเพื่อดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- กรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนและอัปโหลดเอกสารผ่านระบบออนไลน์ หากเป็นไฟฟ้านครหลวงให้เข้าเว็บไซต์ https://spv.mea.or.th หากเป็นไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เข้าเว็บไซต์ https://ppim.pea.co.th
- รอการตรวจสอบและแจ้งผลการพิจารณาจากการไฟฟ้าผ่านทางเว็บไซต์และทาง e-mail
- ติดต่อยื่นเอกสารเพิ่มเติมพร้อมชำระค่าใช้จ่าย และทำหนังสือสัญญากับการไฟฟ้า
- การไฟฟ้าเข้าตรวจสอบระบบไฟโซลาร์เซลล์บ้านและติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า
- บริษัทดำเนินการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์
- เอกสารที่ต้องเตรียม
- สำเนาบัตรประชาชนที่ตรงกับชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า
- หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า
- แบบคำขอ ข.1
- ภาพถ่ายแสดงการติดตั้งอุปกรณ์
- แบบแปลนแสดงแผนผัง โครงสร้างหลังคา โครงสร้างรองรับแผงโซลาร์เซลล์
- รายละเอียดการติดตั้ง
- รายการคำนวณโครงสร้าง
- แบบฟอร์มสำรวจอาคาร
- เอกสารรองรับของวิศวกรผู้ออกแบบและควบคุมงาน
- สำเนาใบประกอบวิชาชีพของวิศวกร (ใบ กว.)
- เอกสารมอบอำนาจ (ในกรณีเจ้าของบ้านไม่ได้ยื่นขอเอง)
อุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในบ้าน
การติดไฟโซลาร์เซลล์บ้านมีอุปกรณ์หลายอย่างเป็นส่วนประกอบ ซึ่งทุกชิ้นจำเป็นต่อการติดตั้ง โดยมีรายการดังต่อไปนี้
- แผงโซลาร์เซลล์ : คืออุปกรณ์หลักในไการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นตัวรับพลังงานจากแสงอาทิตย์
- ขายึดแผงโซลาร์เซลล์ : คือฐานไว้สำหรับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์อีกที ซึ่งมีไว้เพื่อความมั่นคงและระบายความร้อน
- Grounding equipment : คืออุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
- Combiner Box : คืออุปกรณ์ที่รวมกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์
- มิเตอร์ไฟฟ้าดิจิตอล : คืออุปกรณ์สำหรับอ่านค่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีหน้าจอแสดงผล
- อินเวอร์เตอร์ : คืออุปกรณ์แปลงไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับ ซึ่งจะช่วยทำให้ความถี่ของกระแสไฟฟ้ามีความสม่ำเสมอ และปรับคลื่นให้เหมาะสมก่อนส่งเข้าบ้าน
เครื่องแปลงไฟฟ้ากับโซลาร์เซลล์ สำคัญอย่างไร
เครื่องแปลงไฟฟ้า หรือ Inverter จำเป็นกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในบ้านอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะช่วยแปลงกระแสไฟฟ้าแล้ว ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานอีกด้วย เช่น หากเกิดไฟตกหรือไฟหรี่ก็ยังสามารถรักษาเสถียรภาพและทำงานต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราขอแนะนำ เครื่องผลิตพลังงานทดแทน อินเวอร์เตอร์ | Chuphotic เครื่องคุณภาพดีมีมาตรฐาน เพราะมีการผลิตด้วยเทคโนโลยีคุณภาพสูง ที่ได้การรับรองมาตรฐานระดับโลก มาพร้อมกับการรับประกันสินค้าและบริการหลังการขายที่ดีเยี่ยม
ดูแลแผงโซลาร์เซลล์อย่างไร ให้อยู่ได้นาน
การดูแลรักษาแผงโซลาร์เซลล์บ้านเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ทำงานคงประสิทธิภาพได้ดีและยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานยิ่งขึ้น ซึ่งมีวิธีการดูแลดังนี้
- ทำความสะอาดอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี : ด้วยการใช้น้ำเปล่าล้างและใช้ม็อบดันฝุ่นถูให้สะอาด โดยห้ามใช้น้ำยาทำความสะอาดใดๆ หรือแปรงขัด เพื่อป้องกันความเสียหาย และควรทำในเวลากลางคืน เพราะจะปลอดภัยเนื่องจากไม่มีแสงอาทิตย์ ระบบผลิตไฟฟ้าจึงไม่ได้ทำงาน
- ตรวจสอบความสมบูรณ์อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี : ตรวจดูว่ามีฝ้าและรอยแตกร้าวหรือไม่ เพราะอาจเป็นสาเหตุให้น้ำซึมลงไปและเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้
- ตัดแต่งกิ่งต้นไม้ใกล้เคียงเป็นประจำ : เพื่อไม่ให้เงาบดบังแสงอาทิตย์ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าลดลง และอาจเป็นผลให้นกมาทำรัง จนมีมูลสัตว์ทำให้เลอะเทอะและสกปรกได้
- ตรวจสอบอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง : หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ระบบควบคุม ระบบเชื่อมต่อ ระบบแปลงกระแสไฟฟ้า สายไฟ แบตเตอรี่ ว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่ หากมีการชำรุดเสียหายให้รีบแจ้งบริษัทเพื่อมาซ่อมทันทีสม่ำเสมอ และปรับคลื่นให้เหมาะสมก่อนส่งเข้าบ้าน
สรุป
การติดไฟโซลาร์เซลล์ในบ้านคือการใช้พลังงานทดแทนที่สะอาดจากแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของคนยุคปัจจุบัน ที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มากขึ้น ซึ่งก่อนติดตั้งก็ต้องพิจารณางบประมาณ ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยในแต่ละเดือน ความคุ้มค่า ทรงหลังคา และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งหากคุณกำลังนึกถึงอุปกรณ์สำหรับติดโซลาร์เซลล์บ้านอยู่ละก็ ให้นึกถึงเรา Chuphotic ผู้นำด้านเครื่องสำรองไฟ มาตรฐานอันดับ 1 ในตลาดอาเซียน เพราะเราใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิต ทั้งยังใช้เทคโนโลยีที่ได้การรับรองจากระดับโลก ทำให้อุปกรณ์ของเรามีมาตรฐานระดับสูง เรายังมีลูกค้าจากทั้งในและนอกประเทศ ทำให้มั่นใจได้ถึงคุณภาพที่ดีเยี่ยม พร้อมให้บริการหลังการขายและให้คำปรึกษา เปรียบเสมือนคุณคือมิตรแท้คนสำคัญของเรา