fbpx

วิธีใช้เครื่อง stabilizer ที่ถูกต้อง ฉบับเข้าใจง่าย ทำได้เองไม่ง้อช่าง

  • Home
  • เกร็ดความรู้
  • วิธีใช้เครื่อง stabilizer ที่ถูกต้อง ฉบับเข้าใจง่าย ทำได้เองไม่ง้อช่าง
ปกบทความวิธีใช้เครื่อง Stabilizer ที่ถูกต้อง

วิธีใช้เครื่อง stabilizer ที่ถูกต้อง ฉบับเข้าใจง่าย ทำได้เองไม่ง้อช่าง

ปัญหาเรื่องไฟฟ้าภายในบ้านเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ตามอายุการใช้งานหรือปัญหาจะสภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งปัญหาด้านไฟฟ้านั้นกลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการใช้ไฟฟ้าคือสิ่งจำเป็นของทุกบ้าน แต่การที่จะต้องเรียกหาช่างไฟฟ้าทุกครั้งที่เกิดปัญหาเรื่องไฟฟ้าก็อาจกลายเป็นสิ่งที่ใช้เวลามากหรือเสียเวลาพอสมควร การศึกษาเรื่องของไฟฟ้าเบื้องต้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อการประหยัดเวลาและการบำรุงรักษาไฟฟ้าภายในบ้านให้ทันท่วงทีก่อนจะถึงมือช่าง

ความรู้ทางไฟฟ้าอย่างหนึ่งที่สามารถเรียนรู้เองได้ คือการใช้เครื่องมือปรับแรงดันไฟฟ้าหรือ Stabilizer การเรียนรู้วิธีใช้ Stabilizer อย่างถูกวิธีจะช่วยให้แก้ปัญหาไฟฟ้าภายในบ้านได้อย่างถูกต้อง แบบไม่ต้องง้อช่าง เพียงแค่ต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาวิธีใช้งานและการเลือกใช้งานเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอย่างเหมาะสม

ในบทความนี้จึงจะพาไปทำความรู้จักเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าหรือ Stabilizer การเลือกใช้งานตามขนาดที่เหมาะสม การบำรุงรักษาเพื่อยืดอายุการใช้งานและเพื่อความปลอดภัย ให้สามารถทำการติดตั้งได้เองง่ายๆ ไม่ต้องรอช่าง

Stabilizer หรือเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า คืออะไร

Stabilizer หรือเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า คืออะไร

เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าหรือ Stabilizer คือเครื่องมือที่ใช้เพื่อปรับแรงดันไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดกระแสไฟฟ้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยการใช้ Stabilizer ที่ถูกวิธีจะช่วยให้ลดอันตรายหรือความเสียหายของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกิดจากการรับแรงดันไฟฟ้าอย่างไม่เหมาะสมได้

โดยเฉพาะในเวลาที่เกิดไฟฟ้าดับหรือไฟฟ้าตกและทำให้เกิดความไม่เสถียรของการไหลของไฟฟ้า ซึ่งอาจเกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าและต่อการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ การปรับแรงดันไฟฟ้าให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ด้วยเหตุนี้ จึงควรเรียนรู้วิธีใช้ Stabilizer อย่างง่ายๆ เพื่อให้เครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ยาวนานไม่ต้องให้ช่างต้องคอยดูแลรักษาหรือซ่อมแซมบ่อยๆ

Stabilizer มีหน้าที่และความสำคัญอย่างไร

Stabilizer มีหน้าที่และความสำคัญอย่างไร

อย่างที่ได้กล่าวไปว่าปัญหาด้านไฟฟ้าภายในบ้านนั้นเกิดขึ้นได้บ่อยและยังสร้างปัญหากวนใจที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อีกด้วย เพราะทุกบ้านย่อมต้องการใช้ไฟฟ้า ปัญหาหนึ่งจากการใช้ไฟฟ้าที่ทุกบ้านต้องเคยพบเจอ คือปัญหาจากไฟดับหรือไฟตก ไม่ว่าจะเป็นด้วยสาเหตุ จากสภาพอากาศที่เกิดความเปลี่ยนแปลง ทำให้เครื่องจ่ายไฟทำงานขัดข้องหรือการเสื่อมสภาพตามอายุของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า

ซึ่งการที่ไฟดับหรือไฟตกจะส่งผลให้เกิดแรงดันที่ไม่เสถียรต่อไฟฟ้าที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจ่ายสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าได้รับแรงดันไฟฟ้าที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็จะทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติขึ้นได้ การควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น

ในยามที่แหล่งกำเนิดไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่ตามปกติ Stabilizer หรือเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าจึงเข้ามาเป็นตัวช่วยยามฉุกเฉินที่ช่วยควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้เหมาะสม เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าไปจนถึงการทำงานของไฟฟ้าภายในตัวบ้านที่อาจเกิดอันตรายให้อยู่เป็นปกติ

วิธีเลือกขนาดของเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า

วิธีเลือกขนาดของเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า

ก่อนที่จะเรียนรู้ว่า Stabilizer ใช้ยังไงให้ถูกต้องนั้น ควรที่จะเริ่มศึกษาตั้งแต่การเลือก Stabilizer ที่เหมาะสมต่อการใช้งานและความต้องการของแต่ละบ้าน โดยมีวิธีการเลือก Stabilizer ดังนี้

    • รวบรวมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการควบคุมแรงดันไฟฟ้าจาก Stabilizer โดยอาจทำเป็นข้อเพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ
    • ดูจำนวนวัตต์ (W) ของเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ทางไฟฟ้าทั้งหมดที่ต้องการ โดยทั่วไปแล้วมักบ่งบอกอยู่ที่ตัวเครื่อง
    • รวมจำนวนวัตต์ที่เครื่องใช้ไฟฟ้าต้องการ
    • เลือกขนาดของ Stabilizer โดยอ้างอิงจากจำนวนวัตต์ทั้งหมดที่ต้องใช้ ขนาดของ Stabilizer จะต้องมีจำนวนวัตต์ที่มากกว่าจำนวนวัตต์ทั้งหมดของเครื่องใช้ไฟฟ้า

โดยทั่วไป ขนาดของเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าจะมีขนาดคือ

    • เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 3KVA 2,400w
    • เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 5KVA 4,000w
    • เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 8KVA 6,400w
    • เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 10KVA 8,000w
    • เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 20KVA 16,000w
    • เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 30KVA 24,000w

ตัวอย่างการคำนวณ

ตัวอย่างการคำนวณ :

หากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการต่อเข้ากับ Stabilizer ได้แก่ พัดลมขนาด 60W หม้อหุงข้าวขนาด 1,240W และหลอดไฟขนาด 28W จำนวน 5 หลอด จะได้เป็น

60 + 1,240 + (28 x 5) = 1,440W

จึงต้องเลือกเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าที่มากกว่า 1,440W ขึ้นไป หรือคือเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าที่ขนาด 3KVA 2,400W

วิธีต่อ Stabilizer ที่ถูกต้อง

การเตรียมตัวก่อนต่อ Stabilizer

เมื่อเลือกขนาดของเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าได้แล้ว ปัจจัยต่อมาที่จะต้องให้ความสำคัญคือความปลอดภัยในการต่อเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าว่าเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าต่อยังไงจึงจะถูกต้อง ในการเตรียมตัวก่อนการต่อ Stabilizer

อันดับแรกคือจะต้องอ่านคู่มือหรือวิธีการใช้อย่างถี่ถ้วน ควรปฏิบัติตามข้อควรระวังอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญจะต้องปิดการใช้งานไฟฟ้าก่อนการต่อเข้ากับเครื่อง Stabilizer เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าไหลอย่างกะทันหัน รวมถึงอาจเกิดอันตรายทั้งต่อผู้ใช้งานและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องรับไฟฟ้าอย่างรวดเร็วได้ เมื่อทำการต่อ Stabilizer เสร็จสิ้น จึงค่อยทำการเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า

วิธีใช้ Stabilizer ที่ถูกต้องปลอดภัย

วิธีใช้ Stabilizer ที่ถูกต้องปลอดภัย

วิธีต่อเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าหรือวิธีต่อ Stabilizer นั้น ส่วนสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือความปลอดภัยในระหว่างการต่อ ควรศึกษาข้อมูลและวิธีการใช้ก่อนทำการต่อเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า

    • อ่านคู่มือหรือข้อควรปฏิบัติ ก่อนทำการต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า
    • ศึกษาขนาดของสายไฟที่ต้องใช้กับเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า ขนาดของเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าและขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถี่ถ้วน เพื่อป้องกันการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีขนาดเกินกว่าเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า จนอาจทำให้เกิดการลัดวงจรหรือความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าได้
    • ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าก่อน เพื่อป้องกันการลัดวงจรหรือการไหลของไฟฟ้าอย่างกะทันหัน ทั้งต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและต่อผู้ใช้
    • ทำการต่อสาย Input และ Output ระหว่างเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า
    • เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและค่อยๆ ทำการทดสอบการปรับแรงดันไฟฟ้าของเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า (Stabilizer)

เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและเพื่อให้ศึกษาวิธีใช้ Stabilizer อย่างถูกต้อง ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยและเหมาะสมต่อการใช้งาน ขอแนะนำเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าหรือ Stabilizer จาก Chuphotic ที่ผลิตเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าที่มีความปลอดภัยได้มาตรฐาน มีการใช้งานจากผู้ใช้งานจริง จึงมั่นใจได้ว่าทำจากวัสดุที่รองรับการใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำการต่อสายเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าและเครื่องใช้ฟ้าได้ไม่ยาก สามารถทำได้เองตามข้อปฏิบัติที่เข้าใจได้ง่าย หรือหากเกิดข้อสงสัยในวิธีใช้งาน Stabilizer ก็สามารถขอคำปรึกษาได้ ทาง Chuphotic พร้อมให้การบริการอย่างเต็มที่

การดูแลรักษาเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า

การดูแลรักษาเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า

เมื่อทำการต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้ากับเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าแล้ว ยังต้องทำการดูแลรักษาและหมั่นตรวจสอบสภาพการใช้งานของเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอยู่เสมอ เพราะหากไม่ทำการตรวจสอบสภาพหรือหมั่นบำรุงรักษาเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าแล้ว อาจเกิดอันตรายจากการเสื่อมสภาพของเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าได้

ไม่ว่าจะเป็นจากฝุ่นละอองที่อาจก่อตัวสะสม โดยเฉพาะบริเวณแผงไฟฟ้าด้านในจนเกิดความเสียหายต่อการทำงานของเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า หรือความเสียหายที่เกิดจากสภาพแวดล้อมที่ทำให้เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าทำงานผิดปกติ หากใช้งานในระหว่างที่เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าทำงานได้ไม่เต็มที่ก็จะทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าและผู้ใช้งานได้ ในการบำรุงรักษาเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าหรือการใช้งาน Stabilizer สามารถทำได้ ดังนี้

    • ทำความสะอาดเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าทุกๆ 3-6 เดือน เพื่อลดฝุ่นละอองที่สะสมหรือคราบสกปรกที่อาจส่งผลต่อการทำงานของเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าได้
    • เปิดฝาเครื่องออกได้โดยการไขน็อต
    • ตรวจสอบแมลงหรือสัตว์รบกวนที่อาจเข้าไปในตัวเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า
    • ใช้กระดาษทรายขัดหม้อแปลงด้านบน
    • ใช้เครื่องเป่าเพื่อเป่าเอาเศษฝุ่นหรือสิ่งสกปรกออกจากตัวเครื่อง
    • ประกอบแกนกลางกับมอเตอร์ เพื่อทำการตรวจสอบการใช้งานเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า ไม่ให้เกิดความผิดปกติเมื่อทำการใช้งาน
    • หากไม่ได้มีการใช้งานเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ควรเปิดและทำการตรวจสอบการใช้งาน เพื่อไม่ให้เกิดความขัดข้องยามฉุกเฉิน และเป็นการบำรุงรักษาให้เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้านั้นทำงานได้ตามปกติ ไม่ฝืดเคือง

เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าหรือ Stabilizer คือเครื่องที่ช่วยควบคุมปริมาณของแรงดันไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า วิธีใช้ Stabilizer มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการควบคุมไฟฟ้าในเวลาที่แหล่งกำเนิดไฟฟ้ามีการจ่ายไฟฟ้าที่ผิดปกติ เช่น ในเวลาที่เกิดไฟดับ ไฟตก หรือการจ่ายไฟฟ้าขัดข้อง เพื่อไม่ให้เกิดการลัดวงจรของเครื่องใช้ไฟฟ้า ป้องกันการไหลของไฟฟ้าอย่ากะทันหันเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า และเป็นการยืดอายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ดีอีกด้วย

นอกจากนี้ การควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้ความเสถียรอยู่เสมอจะทำให้การทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าจึงมีความจำเป็นต่อสถานที่ที่มีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายเครื่องหรือเพื่อการควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ในการติดตั้งเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าและการใช้งานเครื่อง Stabilizer สามารถศึกษาได้เองตามคู่มือ แต่ส่วนสำคัญคือต้องให้ความใส่ใจต่อความปลอดภัยทั้งต่อผู้ใช้งานและเครื่องใช้ไฟฟ้า จะต้องปฏิบัติตามข้อควรระวังหรือคู่มืออย่างเคร่งครัด เลือกเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าที่มีขนาดเหมาะสมต่อการใช้งานและใช้งานเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้ากับอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานตามที่ระบุไว้เท่านั้น

หากเกิดข้อสงสัยหรือกังวลในเรื่องของความปลอดภัย การเลือกใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าจาก Chuphotic ที่ผลิตจากวัสดุที่มีความแข็งแรงรองรับการใช้งานได้อย่างเต็มที่และมีการใช้งานที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก ก็จะช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ ยังสามารถขอคำปรึกษาจาก Chuphotic ได้ พร้อมให้การบริการและคำแนะนำเพื่อวิธีใช้งาน Stabilizer อย่างถูกต้อง