ไขข้อสงสัย ไฟรั่วทำให้ค่าไฟแพงจริงไหม พร้อมแนะนำวิธีป้องกันไฟรั่ว
|
ไฟรั่ว คืออะไร
ไฟรั่วคือ การรั่วไหลของกระแสไฟฟ้าออกมาจากวงจรไฟฟ้าสู่บริเวณภายนอกที่มีการเสื่อมสภาพหรือชำรุด ปัญหานี้เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย เมื่อมีใครสัมผัสบริเวณที่มีไฟฟ้ารั่วอาจส่งผลอันตรายต่อชีวิต ซึ่งการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้านี้อาจทำให้เกิดอันตรายได้ หากปล่อยไว้และไม่ได้รับการแก้ไขเป็นเวลานาน จะสามารถเป็นแหล่งสะสมความร้อน ซึ่งเมื่อสะสมมากขึ้น อาจกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟไหม้บ้านได้
ไฟรั่ว ทำให้ค่าไฟแพงจริงไหม
ช่วงนี้ไหนที่อากาศร้อน หลายคนยิ่งว้าวุ่นเรื่องค่าไฟ บางครั้งอาจคิดว่าปัญหานี้เกิดจากไฟรั่วหรือเปล่า? คำตอบคือ ไม่จริง ไฟรั่วลงดินไม่ได้ทำให้เสียค่าไฟแพงขึ้นเพราะกระแสไฟที่รั่วมีปริมาณน้อยมาก อยู่แค่ระดับมิลลิแอมป์ ดังนั้นจึงไม่มีผลกระทบต่อค่าไฟแน่นอน แต่ถึงแม้ว่าไฟรั่วจะไม่ทำให้ค่าไฟแพงขึ้นจนผิดปกติ แต่สิ่งที่ควรกังวลที่สุดคืออันตรายที่อาจเกิดขึ้น เช่น การถูกไฟช็อตจนบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิต และการเกิดไฟไหม้เหตุการณ์ที่อาจนำไปสู่การสูญเสียสินทรัพย์ทั้งหมดได้
สาเหตุของไฟรั่ว เกิดจากอะไร
เมื่อเอ่ยถึงปัญหาไฟรั่ว หลายคนคงสงสัยว่าหากไฟรั่วแล้วทำให้ค่าไฟแพงขึ้น ใครจะรับผิดชอบ? สามารถเริ่มต้นรับผิดชอบและกำจัดปัญหาได้ที่ตัวเรา เพราะปัญหาไฟรั่วมาจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
- นิสัยชอบเสียบปลั๊กไฟทิ้งไว้เป็นประจำ แม้ไม่ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ก็ยังเสียบทิ้งไว้ แน่นอนว่าเพียงจุดเล็กๆ แบบนี้ก็มีโอกาสทำให้ไฟรั่วค่าไฟแพงได้ เนื่องจากกระแสไฟยังคงทำงานอยู่ ซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดการช็อตและเกิดการรั่วไหลออกมาได้
- การใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่หยุดพักอาจทำให้เกิดการสึกหรอได้ เมื่อกลับมาเปิดใช้อีกครั้ง โอกาสที่กระแสไฟฟ้าจะรั่วไหลก็สูงมาก เพราะอุปกรณ์กันไฟรั่วหรือสายหุ้มฉนวนอาจเสื่อมสภาพจนไม่สามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลให้ตัวนำไฟฟ้าเกิดแรงดัน เมื่อไฟฟ้าสัมผัสกับโลหะจึงอาจทำให้เกิดปัญหาไฟรั่ว
- เลือกใช้อุปกรณ์ที่ไม่มีคุณภาพหรือไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงการเดินสายไฟและการติดตั้งระบบไฟฟ้าที่ไม่ดีพอ เมื่อใช้งานเป็นระยะเวลานานๆ แรงดันไฟฟ้าที่ทำงานอยู่เป็นประจำจะส่งผลให้อุปกรณ์พังเสียหายและเกิดปัญหาไฟฟ้ารั่วตามมา
วิธีตรวจสอบไฟรั่วที่บ้าน ทำได้อย่างไร
การขจัดไฟรั่วและลดค่าไฟแพง รวมถึงการป้องกันอุบัติเหตุจากไฟไหม้ เริ่มต้นได้ด้วยการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ หากบ้านไหนที่ยังไม่ทราบวิธีการตรวจสอบไฟรั่ว สามารถตรวจสอบไฟรั่วที่บ้านได้ตามขั้นตอน ดังนี้
1. ตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้า
ค่าไฟแพงผิดปกติเกิดจากไฟรั่วจริงหรือไม่? เบื้องต้นสามารถตรวจสอบได้ง่ายๆ ด้วยการทดสอบมิเตอร์ไฟฟ้า เพื่อสร้างความมั่นใจว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ มีสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ วิธีการสำรวจคือ กดปิดสวิตช์ไฟฟ้า + ถอดปลั๊กไฟทุกจุด แล้วไปตรวจสอบที่มิเตอร์ไฟฟ้าว่าเฟืองเหล็กยังคงหมุนอยู่หรือไม่ หากพบว่ามิเตอร์ยังคงหมุนอยู่ อาจหมายถึงมีปัญหาไฟฟ้าเกิดขึ้น ควรรีบติดต่อช่างเพื่อมาตรวจสอบและแก้ไขปัญหาด่วน
2. ตรวจสอบสายไฟ
ปัญหาไฟรั่วและค่าไฟแพงเกิดขึ้นได้เสมอ จึงควรหมั่นตรวจเช็กสายไฟเป็นประจำ เพื่อหาจุดที่เกิดการเสียหายหรือชำรุด เพราะโดยทั่วไปแล้วสายไฟมักถูกออกแบบให้ใช้งานได้ยาวนานเป็น 10 ปีหรือมากกว่านั้น หลายคนจึงอาจจะละเลยการดูแล แต่การใช้งานอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดการเสื่อมสภาพได้ ซึ่งสามารถสังเกตได้ง่ายๆ หากบริเวณปลอกหุ้มสายไฟมีการเปลี่ยนสี คาดเดาไว้ก่อนเลยว่าอาจเกิดจากการเสื่อมสภาพ เมื่อเกิดอาการนี้ขึ้น ควรรีบเรียกช่างเพื่อมาตรวจสอบและซ่อมโดยด่วน เพื่อป้องกันปัญหาไฟรั่วที่อาจทำให้ค่าไฟแพงขึ้นและเป็นอันตราย
3. ตรวจสอบเต้ารับและปลั๊กไฟ
วิธีการลดปัญหาไฟฟ้ารั่ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น ไฟไหม้บ้าน โดยการ checklist ตรวจสอบอุปกรณ์กันไฟรั่ว อย่างเต้ารับและปลั๊กไฟ เพราะในปัจจุบันเต้ารับและปลั๊กไฟมักทำจากพลาสติก ซึ่งสามารถเป็นตัวนำไฟฟ้าได้ีดี
โดยวิธีการตรวจสอบเต้ารับไฟฟ้าสามารถทำได้ง่ายๆ เพียงเตรียมไขควงนำมาวัดไฟ หากเช็กแล้วพบว่ามีจุดไหนที่ไฟไม่เข้าก็สันนิษฐานได้เลยว่าเต้ารับเสีย พร้อมกับตรวจสอบดูว่าเต้ารับไฟฟ้าหลวม มีรอยแตกร้าว หรือรอยไฟไหม้ตรงจุดไหนบ้างหรือเปล่า หากพบเจอปัญหา ควรรีบติดต่อช่างเพื่อทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนเต้ารับทันที
4. ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
จุดเล็กๆ ที่ใครหลายคนมองข้ามอาจกลายเป็นสาเหตุของปัญหาไฟรั่วและไฟไหม้ได้ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น หม้อหุงข้าว พัดลม โทรทัศน์ และเครื่องซักผ้า เป็นต้น ถือว่าเป็นจุดที่ควรสนใจเป็นพิเศษ เพราะอาจทำให้เกิดไฟรั่วและค่าไฟแพงได้
ควรตรวจสอบว่าปลั๊กเสียบมีความสมบูรณ์พร้อมใช้งานอยู่เสมอหรือไม่ มองหาการเสียหาย อย่างรอยไหม้หรือรอยละลายจากความร้อน ตรวจสอบว่ามีจุดไหนแตกหรือเสื่อมสภาพหรือไม่ โดยหากจับจุดไหนแล้วรู้สึกว่ามีไฟรั่วหรือมีความร้อน ควรรีบตามช่างทันที นอกจากนี้เครื่องใช้ไฟฟ้า อย่างเครื่องทำน้ำอุ่นที่จำเป็นต้องติดตั้งสายดิน ก็ต้องติดตั้งสายดินให้เรียบร้อยตามมาตรฐานเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว
5. ตรวจสอบเบรกเกอร์และคัตเอาต์
การสร้างความปลอดภัยจากระบบไฟฟ้าเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่วด้วยการเลือกติดตั้งเบรกเกอร์และคัตเอาต์เป็นวิธีที่สำคัญ แต่อุปกรณ์เหล่านี้สามารถเสื่อมสภาพไปตามการใช้งานได้ จึงควรตรวจเช็กอยู่เสมอว่ามีอะไรเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นหรือไม่ เช่น เสียงผิดปกติ การทำงานผิดปกติ มีสัตว์เข้าไปทำรัง หรือสายไฟเสื่อมสภาพ เป็นต้น สามารถทำการตรวจสอบได้ด้วยการสับสวิตช์ทุกตัวเพื่อเช็กประสิทธิภาพการทำงาน
วิธีป้องกันไฟรั่วในบ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง
เมื่อทราบสาเหตุไฟรั่วและผลกระทบที่ทำให้ค่าไฟขึ้นกันไปแล้ว คงเห็นได้ว่าปัญหานี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่ายมากๆ ดังนั้นการป้องกันอันตรายจากการเกิดไฟฟ้ารั่วจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อความปลอดภัยของตัวเรา ครอบครัว และทรัพย์สินในบ้านด้วย ซึ่งมีวิธีป้องกัน ดังนี้
ติดตั้งสายดิน
สายดินถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากในการป้องกันไฟรั่ว โดยสายดินจะถูกติดตั้งในตัวบ้าน ระหว่างการปลูกสร้าง ซึ่งต้องใช้ร่วมกันกับปลั๊กไฟ 3 รูและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีหัวปลั๊ก 3 ขา
หน้าที่ของสายดินคือเป็นมาตรฐานหลักในการป้องกันอันตรายจากการเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว เพราะเมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วไหลจากเครื่องใช้ไฟฟ้า สายดินจะนำกระแสไฟฟ้าลงสู่ดิน แทนที่จะไหลผ่านร่างกายของมนุษย์
ติดตั้งฉนวนไฟฟ้า
หากบ้านไหนไม่มั่นใจว่ามีปัญหาไฟรั่วหรือค่าไฟแพง การมีแผ่นฉนวนไฟฟ้าติดบ้านไว้จะเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการป้องกันการโดนไฟดูดและช่วยในการตรวจสอบกระแสไฟฟ้า โดยแผ่นฉนวนไฟฟ้ามักทำมาจากวัสดุต่างๆ เช่น พลาสติก แผ่นยาง และแผ่นไม้ เป็นต้น
สำหรับการตรวจสอบทำได้โดยการลองนำไปวางบริเวณที่ต้องการจะเช็กว่ามีกระแสไฟฟ้หรือไม่ เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่ากระแสไฟฟ้ารั่วจริง ควรรีบเรียกให้ช่างไฟเข้ามาช่วยแก้ปัญหาทันที เพื่อลดความเสี่ยงจากเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่รุนแรง รวมถึงเพิ่มความปลอดภัยให้กับบ้านและทุกคนในบ้าน
ติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว (RCD)
หลายคนอาจเคยสงสัยว่าเครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) คืออะไร และทำไมการไฟฟ้านครหลวงจึงแนะนำให้ทุกบ้านติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว นั่นก็เพราะเครื่องตัดไฟรั่วถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ได้รับการออกแบบมาและติดตั้งในระบบไฟฟ้าเพื่อช่วยป้องกันอันตรายจากไฟรั่ว โดยเฉพาะในกรณี เช่น น้ำท่วมขังหรือสายดินขาด ซึ่งสามารถป้องกันไฟรั่วได้เกือบ 100% เมื่อเกิดการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า เครื่องตัดไฟรั่วจะตัดกระแสไฟฟ้าทั้งหมดของบ้านทันที แต่สิ่งสำคัญควรเลือกเครื่องตัดไฟฟ้าที่มีขนาดเหมาะสมกับระดับกระแสไฟฟ้าภายในบ้าน หากเล็กเกินไปอาจป้องกันไฟรั่วได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ แต่ถ้าใหญ่เกินพิกัดอาจทำให้เกิดความเสียหายได้
สรุป
คงคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับไฟรั่วและค่าไฟแพงได้แล้ว จึงขอสรุปตรงนี้ว่า ไฟรั่วหมายถึงการที่กระแสไฟฟ้ารั่วไหลออกจากวงจรไฟฟ้าสู่ภายนอก ซึ่งเกิดจากการชำรุดหรือเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสายไฟ ส่วนปัญหาไฟรั่วลงดินทำให้เสียค่าไฟแพงจริงหรือไม่? คำตอบคือ “ไม่จริง” เนื่องจากไฟรั่วมีปริมาณกระแสไฟฟ้าที่น้อยมาก จึงไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะส่งผลต่อค่าไฟที่สูงมาก แต่อย่างไรก็ตามปัญหาไฟฟ้ารั่วก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจส่งผลอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ ควรหมั่นตรวจเช็กระบบไฟฟ้าเป็นประจำเพื่อแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที