Solar Cell คืออะไร? ทางเลือกประหยัดไฟฟ้า ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
ทำความรู้จัก Solar Cell คืออะไร
Solar Cell มีหลักการทำงานยังไง
การทำงานของ Solar Cell คือ การแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า กล่าวคือ เมื่อแสงอาทิตย์มาตกกระทบที่แผงโซล่าเซลล์ โดยแผงโซล่าเซลล์มีลักษณะเป็นวัสดุโลหะ และมีรูปแบบเป็นเส้นตาราง ทำให้ระหว่างที่แสงอาทิตย์ตกกระทบลงบนพื้นผิวแผงโซล่าเซลล์ เส้นตารางโลหะจะช่วยกักเก็บพลังงานไฟฟ้าเอาไว้ อีกทั้งบริเวณพื้นผิวชั้นบนของโซล่าเซลล์ยังมีสารเคลือบออปติคอล เคลือบป้องกันแสงสะท้อน พร้อมช่วยลดการสูญเสียของแสงสะท้อน และทำหน้าที่ส่งพลังงานไปยังชั้นแปลงพลังงานด้านล่าง อีก 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นจุดเชื่อมต่อด้านบน ชั้นตัวดูดซับ และชั้นจุดเชื่อมต่อด้านหลัง ก่อนส่งพลังงานไปยังจุดแปลงกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่า เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) หรือ สารตัวกึ่งนำ ซึ่งวัสดุที่นิยมใช้ ได้แก่ คอปเปอร์อินเดียมซีลีไนด์ แกลเลียมอาร์เซไนด์ อินเดียมฟอสไฟด์ และซิลิคอน โดยเซมิคอนดักเตอร์จะมีหน้าที่แปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เกิดเป็นกระแสไฟฟ้า
- โซล่าเซลล์รับพลังงานจากแสงอาทิตย์
- เส้นตารางโลหะ ทำหน้าที่กักเก็บพลังงาน และส่งต่อพลังงานไปยังชั้นด้านล่าง
- พลังงานส่งผ่านชั้นของเซลล์ในรูปแบบโฟตอน
- โฟตอนให้พลังงานอิเล็กตรอนในชั้นด้านล่าง
- ชั้นด้านล่างเกิดการถ่ายทอดอิเล็กตรอนระหว่างกัน
- อิเล็กตรอนถูกทำให้เกิดการแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ในการใช้งาน
Solar Cell มีดียังไง ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงเลือกใช้งาน
เป็นการใช้พลังงานทดแทน
ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เป็นการลงทุนในระยะยาว
เป็นพลังงานที่ใช้ได้อย่างไม่จำกัด
Solar Cell มีกี่ระบบ แต่ละระบบเหมาะกับการใช้งานแบบไหน
Off Grid System
หลักการทำงาน
ข้อดี
- Solar Cell Off Grid เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ห่างไกล พื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
- ผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากการไฟฟ้า จึงช่วยประหยัดเรื่องรายจ่ายค่าไฟฟ้าไปได้
- สามารถใช้ยามฉุกเฉินได้ เช่น ไฟตก ไฟดับ เป็นต้น
ข้อจำกัด
- Solar Cell Off Grid มีต้นทุน ค่าใช้จ่าย และค่าดูแลรักษาที่สูง
- หากไม่มีแดดหรือมีฝนตกติดต่อกันมากเกินไป จะทำให้พลังงานในแบตเตอรี่หมดได้
On Grid System
หลักการทำงาน
การทำงานของ Solar Cell On Grid คือ แผงโซล่าเซลล์จะมีสายเชื่อมต่อกับระบบสายส่งกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้า และเมื่อต้องการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้า แผงโซล่าเซลล์จะแปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่ออยู่
ข้อดี
- มีต้นทุน ค่าใช้จ่าย และค่าดูแลรักษาที่น้อยกว่า Solar Cell Off Grid
- หากผลิตไฟฟ้าเกิน สามารถขายคืนให้กับการไฟฟ้าได้ แต่ต้องมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าก่อน
- ช่วงฤดูที่มีแสงน้อยยังสามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้ เพราะมีระบบไฟฟ้ามาช่วยเสริมการทำงาน
ข้อจำกัด
- ถ้าไฟฟ้าดับ ไฟตก แผงโซล่าเซลล์ก็จะหยุดทำงานไปด้วย ต่างจาก Solar Cell Off Grid ที่ยังคงทำงานได้ปกติ
- การเชื่อมต่อกับระบบการไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
- หากมีการเปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงระบบจากการไฟฟ้า อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการปรับปรุง
Hybrid Grid System
หลักการทำงาน
ข้อดี
- กรณีฉุกเฉิน เช่น ไฟดับ ไฟตก ก็ยังสามารถใช้งานต่อไปได้
- สามารถใช้งานไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีแหล่งจ่ายไฟ 3 แหล่ง ได้แก่ โซล่าเซลล์ แบตเตอรี่ และไฟฟ้าจากระบบการไฟฟ้า จึงมีความเสถียรในการใช้งานมากกว่า Solar Cell Off Grid และ On Grid
ข้อจำกัด
- มีต้นทุน ค่าดูแลรักษา และค่าใช้จ่ายที่สูง เนื่องจากมีอุปกรณ์ที่ต้องใช้เป็นจำนวนมาก
- อาจคืนทุนได้ช้ากว่า Solar Cell Off Grid และ On Grid
- ระบบการทำงานมีความซับซ้อน
- มีอุปกรณ์เชื่อมต่อพลังงานที่จำกัด
เทคนิคการเลือก Solar Cell สำหรับติดตั้งไว้ใช้งาน
เลือก Solar Cell จากกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า
เลือก Solar Cell ที่เหมาะสมกับพื้นที่ติดตั้ง และการใช้งาน
เลือก Solar Cell แบบพกพา สำหรับการใช้งานนอกสถานที่
วิธีการติดตั้ง Solar cell ที่บ้านต้องทำอย่างไร
หากอยากติดตั้ง Solar Cell เพื่อไว้ใช้งานที่บ้าน ก็สามารถทำตามขั้นตอนนี้ได้
- ติดตั้งแผงรับน้ำหนัก ควรสำรวจโครงสร้างของหลังคาบ้าน หรือดาดฟ้าของอาคาร ก่อนทำการติดตั้ง เพราะต้องทำการออกแบบ และติดตั้งที่ยึดแผง หรือ Solar Mounting เพื่อรองรับน้ำหนักของแผงโซล่าเซลล์ หากไม่ติดตั้งแผงรับน้ำหนัก อาจทำให้เกิดปัญหาการทรุดตัวของหลังคา หรือปัญหาหลังคารั่วซึมได้
- ติดตั้งแผง Solar Cell การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ คือ การนำแผงมายึดกับโครงสร้างโดยช่างผู้ชำนาญ และติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้ความลาดเอียงของแผงอยู่ที่ประมาณ 15 – 20 องศา และต้องหันแผงไปทางทิศตะวันตก หรือทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อให้แผงได้รับแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง
- ติดตั้ง Inverter ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ จำเป็นต้องมีการแปลงกระแสไฟฟ้า โดยอาศัยตัวแปลงกระแสไฟฟ้าอินเวอร์เตอร์ มาทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) สำหรับการเลือกอินเวอร์เตอร์ ควรพิจารณารายชื่อที่ผ่านการตรวจสอบ และรับรองโดยการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งหากใครสนใจอินเวอร์เตอร์ ก็ขอแนะนำ INV600-L 12l24 อินเวอร์เตอร์ของ Chuphotic เหมาะกับการใช้งานคู่กับ Solar Cell ทุกระบบ
- ติดตั้งเครื่องควบคุมการชาร์จ โซล่าเซลล์เป็นระบบที่ไม่ได้อาศัยไฟฟ้าในระบบสายส่ง หรือที่เรียกกันว่า Solar Cell Off Grid ทำให้การติดตั้งแผงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ เพื่อใช้เก็บประจุไฟฟ้าในแบตเตอรี่ หรือ Solar Charge Controller สำหรับใช้งานช่วงกลางคืน หรือช่วงที่โซล่าเซลล์ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ อุปกรณ์นี้จะช่วยควบคุมความเสถียรในการชาร์ต และป้องกันการเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่
- เดินสายไฟ ขั้นตอนสุดท้ายของการติดตั้ง Solar Cell คือ การเดินสายไฟ และอุปกรณ์ที่จำเป็น โดยสิ่งสำคัญที่ควรมีก็คือ ท่อร้อยสายไฟ สำหรับเดินสายเชื่อมต่อจากแผงโซล่าเซลล์ เพื่อต่อเข้าอุปกรณ์ อินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมการชาร์จ แบตเตอรี่ และรวมสายเอาไว้ตู้ควบคุม เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมทดลองใช้งานจริง เพื่อตรวจสอบระบบ
Solar Cell คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้น เพื่อนำเอาพลังงานจากแสงอาทิตย์มาผลิตกระแสไฟฟ้า โดยมีหลักการทำงาน คือ มีแผงโซล่าเซลล์ที่ใช้ในการรับแสงอาทิตย์ และแสงอาทิตย์ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าที่สามารถใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ ซึ่งโซล่าเซลล์ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และถือเป็นการลงทุนในระยะยาว รวมถึงเป็นพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยทาง Chuphotic เรามีผลิตภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับโซล่าเซลล์ที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน เหมาะกับการใช้งานทุกรูปแบบ พร้อมให้คำปรึกษา และให้บริการอย่างครบวงจร