fbpx

โซลาร์ฟาร์ม (Solar Farm) คืออะไร มีกี่รูปแบบ ประหยัดได้จริงหรือไม่?

  • Home
  • เกร็ดความรู้
  • โซลาร์ฟาร์ม (Solar Farm) คืออะไร มีกี่รูปแบบ ประหยัดได้จริงหรือไม่?
โซลาร์ฟาร์ม (Solar Farm) คืออะไร มีกี่รูปแบบ ประหยัดได้จริงหรือไม่?

โซลาร์ฟาร์ม (Solar Farm) คืออะไร มีกี่รูปแบบ ประหยัดได้จริงหรือไม่?

โซลาร์ฟาร์ม (Solar Farm) เป็นแหล่งอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานทดแทนอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ มีไว้สำหรับผลิตไฟฟ้า เพื่อเป็นตัวช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้า แล้วโซลาร์ฟาร์มมีการติดตั้งกี่รูปแบบ มีข้อดีอย่างไร หากต้องการติดตั้งต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง มาทำความรู้จักกับโซลาร์ฟาร์มได้ในบทความนี้เลย

ทำความรู้จัก โซลาร์ฟาร์ม คืออะไร

ทำความรู้จัก โซลาร์ฟาร์ม คืออะไร

โซลาร์ฟาร์ม (Solar Farm) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า สวนพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ขนาดใหญ่ และมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ที่เป็นตัวช่วยสำคัญในการผลิตไฟฟ้าไว้เป็นจำนวนมาก คล้ายๆ กับโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ หรือแหล่งผลิตพลังงานอื่นๆ โดยโซลาร์ฟาร์มมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ แปลงเป็นไฟฟ้า และนำไฟฟ้าที่ผลิตได้มาใช้ในแต่ละวัน ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการไฟฟ้าได้ โดยโซลาร์ฟาร์มได้มีการส่งไฟฟ้าที่ผลิตได้ไปยังระบบไฟฟ้าภูมิภาค หรือสถานที่ที่ต้องการไฟฟ้าใช้เป็นจำนวนมาก เช่น โรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ โซลาร์ฟาร์มยังเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สะอาดและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

รูปแบบของโซลาร์ฟาร์ม

รูปแบบของโซลาร์ฟาร์ม

โซลาร์ฟาร์มมีหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งานและการติดตั้ง ดังนี้

1. การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบลอยน้ำ (Floating System)

การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบลอยน้ำ (Floating System) เป็นการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ไว้บนผิวน้ำ ซึ่งการติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบลอยน้ำ ไม่จำเป็นต้องสูญเสียพื้นที่บนบก หรือบนพื้นดิน อีกทั้งจุดเด่นของการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในรูปแบบนี้ก็คือ มีความปลอดภัยต่อระบบนิเวศใต้น้ำ ​การผลิตไฟฟ้าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการติดตั้งบนพื้นดิน เพราะในระหว่างที่ระบบของตัวโซลาร์เซลล์กำลังทำงาน ผืนน้ำรอบๆ จะช่วยระบายความร้อนได้ เป็นที่นิยมสำหรับแหล่งเพาะปลูกทางการเกษตรต่างๆ หรือพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำรอบๆ ไม่ว่าจะเป็น บ่อ บึง เขื่อน ทะเล ซึ่งวิธีการติดตั้งจะเป็นการนำแผงโซลาร์เซลล์มาติดกับทุ่นพลาสติก โดยตัวทุ่นจะเป็นเม็ดพลาสติก  HDPE ที่ทนทานต่อการใช้งานกลางแสงแดด อีกทั้งยังมีความแข็งแรง และสามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน

2. การติดตั้งแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ (Tracking System)

การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ (Tracking System)  เป็นการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่สามารถหัน หรือหมุนตามดวงอาทิตย์ได้ เพื่อให้แผงโซลาร์เซลล์สามารถดูดซับแสดงอาทิตย์ได้มากที่สุด จุดเด่นของการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในรูปแบบนี้ก็คือ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้นถึง 30% แน่นอนว่าดีกว่าการยึดแผงโซลาร์เซลล์ติดอยู่กับที่ อีกทั้งรูปแบบนี้ยังสามารถติดตั้งได้ในทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นบนพื้นดิน บนที่พักอาศัย หรือตามตึกอาคารต่างๆ แต่ที่นิยมส่วนใหญ่ คือ จะติดไว้บนหลังคาบ้าน เพราะประหยัดค่าใช้จ่าย และประหยัดพื้นที่บริเวณรอบๆ บ้าน ซึ่งวิธีการติดตั้งจะเป็นการติดตั้งแบบอาศัยโปรแกรมที่มีการควบคุมการหมุนของแผงโซลาร์เซลล์

3. การติดตั้งแบบยึดอยู่กับที่ (Fixed System)

การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบยึดอยู่กับที่ (Fixed System) เป็นการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในพื้นที่ที่สามารถดูดซับแสงอาทิตย์ได้นานและมากที่สุด อีกทั้งตำแหน่งของการติดตั้งยังต้องเป็นตำแหน่งที่คงที่ชัดเจน จุดเด่นของการติดในติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในรูปแบบนี้ก็คือ ต้นทุนและค่าดูแลรักษาจะต่ำกว่าการติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบลอยน้ำ และการติดตั้งแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ บ้านเรือนส่วนใหญ่จึงนิยมติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในรูปแบบนี้ ซึ่งก่อนติดตั้งจะต้องทำการสำรวจในพื้นที่ก่อนว่าบริเวณใดสามารถรับแสงอาทิตย์ได้มากที่สุด เมื่อสำรวจเรียบร้อยแล้ว จึงค่อยทำการติดตั้ง

ทำไมโซลาร์ฟาร์มจึงเป็นธุรกิจรักษ์โลกมาแรง

ทำไมโซลาร์ฟาร์มจึงเป็นธุรกิจรักษ์โลกมาแรง

ธุรกิจโซลาร์ฟาร์ม มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอในระดับอุตสาหกรรม และจ่ายไฟให้กับระบบไฟฟ้าสาธารณะ หรือสถานที่ที่ใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ซึ่งโซลาร์ฟาร์มมักอยู่ในพื้นที่ที่กว้างใหญ่ เพราะต้องทำการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จำนวนมาก โดยคุณสมบัติเด่นๆ ของโซลาร์ฟาร์ม คือการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นระบบการติดตั้งบนผิวน้ำ หรือการติดตามแสงอาทิตย์ เพื่อให้สามารถดำเนินการผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งโซลาร์ฟาร์มยังสามารถช่วยลดการใช้พลังงานจากแหล่งธรรมชาติ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกด้วย 

ปัจจุบันประเทศไทยมีโซลาร์ฟาร์ม อยู่ 13 จังหวัด รวมทั้งหมด 39 แห่ง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา 9 แห่ง ขอนแก่น 10 แห่ง บุรีรัมย์ 3 แห่ง สุรินทร์ 3 แห่ง นครพนม 3 แห่ง สกลนคร 2 แห่ง ร้อยเอ็ด 2 แห่ง หนองคาย 1 แห่ง และอุดรธานี 1 แห่ง

แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจโซลาร์ฟาร์มประเทศไทยในปี 2567

โซลาร์ฟาร์มในประเทศไทยได้เริ่มขยายตัวมากขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลของไทยได้มีแผนการ และนโยบายสำหรับการใช้พลังงานทดแทน ส่วนทางนักลงทุนและภาคเอกชน ก็ต่างสนใจการลงทุนเกี่ยวกับโซลาร์ฟาร์ม และด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ทำให้มีต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าที่ประหยัดสำหรับโซลาร์ฟาร์ม ส่งผลให้การขยายตัวของธุรกิจโซลาร์ฟาร์มมีศักยภาพที่สูงขึ้นในประเทศไทย สามารถตอบสนองต่อความต้องการของฐานลูกค้าได้ 

ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทยในปี 2567 มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ก็คือการที่ภาครัฐมีการรับซื้อโซลาร์เซลล์จากภาคประชาชน และไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (RE) โดยไฟฟ้าเหล่านั้นเป็นไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้งานที่ผลิตได้ในอัตรา 2.20 บาทต่อหน่วย

จำนวนการสร้างรายได้ของโซลาร์ฟาร์ม 1 ไร่ ใน 1 ปี

จำนวนการสร้างรายได้ของโซลาร์ฟาร์ม 1 ไร่ ใน 1 ปี

การไฟฟ้ารับซื้อจะอยู่ที่ 2.20 บาทต่อหน่วย ซึ่งโซลาร์ฟาร์ม 1 ไร่ ลงทุนติดตั้งโซล่าเซลล์ได้ประมาณ 100 กิโลวัตต์ และสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 500 หน่วยต่อวัน เมื่อนำ 2.20 มาคูณ 500 ก็จะเท่ากับ 1,100 ซึ่งเป็นรายได้ของหนึ่งวันจากการขายไฟได้ และใน 1 ปี มีทั้งหมด 365 วัน ทำให้โซลาร์ฟาร์ม 1 ไร่ สามารถสร้างรายได้จากการขายไฟได้ถึง 400,000 บาทต่อปีเลยนั่นเอง

การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มมีวิธีการดำเนินการอย่างไร

สำหรับใครที่อยากติดตั้งโซลาร์ฟาร์ม หรือทำธุรกิจโซลาร์ฟาร์ม แต่มีความสงสัยว่าต้องยื่นจดทะเบียนไหม แล้วมีวิธีการดำเนินการอย่างไร ไปหาคำตอบกันได้เลย

  • ขั้นตอนที่ 1 สำรวจเงินทุนที่มีก่อนว่าสามารถสร้างโซลาร์ฟาร์มได้ประมาณเท่าไร เพราะหากลงทุนสร้างในพื้นที่ที่ใหญ่มาก ก็จะสร้างรายได้ที่มากกลับมาเช่นกัน
  • ขั้นตอนที่ 2 สำรวจพื้นที่ที่จะใช้สำหรับการสร้างโซลาร์ฟาร์ม โดยให้ตรวจสอบว่าในพื้นที่นี้มีความเข้มข้นของแสงอาทิตย์เพียงพอหรือไม่ หรือมีการดูดซับแสงอาทิตย์ได้ดีหรือไม่
  • ขั้นตอนที่ 3 ให้ทำการยื่นจดทะเบียนเพื่อขออนุญาตทำโครงการโซลาร์ฟาร์ม และทำสัญญากับการไฟฟ้าเกี่ยวกับการจำหน่ายไฟฟ้า และต้องมีใบอนุญาตขนานไฟฟ้า
  • ขั้นตอนที่ 4 หาบริษัทรับติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่มีความรู้ความชำนาญ รวมถึงมีการดูแล และมีบริการหลังการขาย เพื่อออกแบบและก่อสร้างให้ได้โซลาร์ฟาร์มที่มีคุณภาพ
ข้อดีของโซลาร์ฟาร์ม

ข้อดีของโซลาร์ฟาร์ม

  • สามารถนำพลังงานแสงอาทิตย์มาช่วยในการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อการใช้ในบ้านเรือน สถานที่ขนาดใหญ่ หรือโรงงานอุตสาหกรรมได้
  • ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าได้มากขึ้น
  • พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่สะอาด ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงในการผลิต ไม่มีการเผาไหม้ รวมถึงไม่มีก๊าซเรือนกระจกในอากาศ อีกทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ยังเป็นพลังงานที่ใช้ผลิตไฟฟ้าได้อย่างไม่จำกัดอีกด้วย
  • ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์สามารถใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านการแปลงกระแสไฟฟ้า
  • การทำโซลาร์ฟาร์มสามารถติดตั้งได้ง่ายๆ เพราะแค่มีโซลาร์เซลล์ สายไฟ และแบตเตอรี่ ก็สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้

สิ่งที่ควรคำนึงก่อนลงทุนโซลาร์ฟาร์ม

  • การทำโซลาร์ฟาร์มต้องใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้า จึงมีความจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าปริมาณการผลิตไฟฟ้ามีความไม่แน่นอนในแต่ละวัน เพราะความเข้มของแสงอาทิตย์มีผลต่อปริมาณการผลิต อีกทั้งยังผลิตไฟฟ้าได้แค่ในช่วงกลางวันเท่านั้น
  • เนื่องจากโซลาร์ฟาร์มต้องมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในจำนวนมาก เพื่อให้เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้า จึงจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งมาก
  • เมื่อทำการติดตั้งโซลาร์ฟาร์มต้องมีต้นทุนที่เพียงพอสำหรับอุปกรณ์การติดตั้ง ไม่ว่าจะเป็นสายไฟ แบตเตอรี่ ท่อร้อยสายไฟ เพื่อเป็นการคำนวณถึงความคุ้มค่าที่จะผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อการใช้งาน

สรุป

โซลาร์ฟาร์ม (Solar Farm) คือโรงงานผลิตไฟฟ้าที่มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อผลิตไฟฟ้าไว้เป็นจำนวนมากให้เพียงพอต่อการใช้งานในระดับอุตสาหกรรม และจ่ายไฟให้กับระบบไฟฟ้าสาธารณะ หรือสถานที่ที่ใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ปัจจุบันโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทยได้เริ่มขยายตัวมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้คุ้มค่าแก่การลงทุนแน่นอน เพราะเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทำให้ประหยัดต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า ส่งผลให้การขยายตัวของธุรกิจโซลาร์ฟาร์มมีศักยภาพที่สูงขึ้น สามารถตอบสนองต่อความต้องการของฐานลูกค้าได้ 

สำหรับใครที่อยากติดแผงโซลาร์เซลล์ที่บ้าน ขอแนะนำ โซลาร์เซลล์ Chuphotic ที่มีคุณภาพ มีระบบ Chuphotic Monitoring System คือ ระบบของ Solar Roof ที่เอาไว้ดูการทำงานของระบบโซล่าเซลล์ที่ลูกค้าติดตั้งว่าระบบผลิตกระแสไฟจากแสงแดดได้มากเท่าไร และใช้ไฟฟ้าไปเท่าไร สามารถดูได้แบบเรียลไทม์ รวมถึงสามารถดูรายงานการลดค่าไฟเป็นจำนวนเงินแบบรายวันรายเดือนและรายปีได้ผ่านเว็บไซต์ และแอปพลิเคชั่น ทั้งคอมพิวเตอร์และมือถือ นอกจากนี้ Chuphotic ยังพร้อมให้คำปรึกษา และคำแนะนำ ตลอดจนการบริการติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญ ทำให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด

Leave A Reply