เสียบปลั๊กแล้วไฟช็อต จนไฟดับทั้งบ้านเกิดจากอะไร พร้อมวิธีป้องกัน
เคยไหม? เมื่อยื่นมือเข้าไปเสียบปลั๊กแล้วเกิดไฟสปาร์กทันที พร้อมกับประกายไฟแลบขึ้นมา แถมยังรู้สึกแบบไฟช็อตแปล๊บๆ บางทีก็ไฟตัดชั่วขณะ หรือบางครั้งถึงขั้นไฟดับทั้งบ้านเลยทีเดียว แน่นอนว่าคงเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลใจไม่น้อย เกรงว่าจะเกิดอันตรายต่างๆ ตามมาภายหลังได้ จึงเกิดเป็นข้อสงสัยเสียบปลั๊กไฟแล้วไฟดับไฟช็อตเกิดจากอะไรกันแน่? บทความนี้จะไขข้อสงสัยว่าปัญหาเหล่านี้เกิดจากอะไรกันแน่ แล้วมีความอันตรายมากน้อยเพียงใด? พร้อมวิธีจะรับมือและป้องกัน ทำได้อย่างไร? ไปดูกันเลย
เคยสงสัยไหม? เสียบปลั๊กแล้วไฟช็อต เกิดจากอะไร
เสียบปลั๊กแล้วไฟแลบ เกิดจากหลายสาเหตุ อาจเกิดขึ้นจากไฟฟ้าลัดวงจร ไฟโหลดเกิน ฟิวส์ขาด รวมถึงเบรกเกอร์ตัด และอาจจะเกิดจากระบบไฟฟ้าในบ้านมีปัญหาหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เสียบมีปัญหา จนเกิดเป็นความร้อน และเกิดเป็นประกายไฟแลบแปล๊บๆ ขึ้นมาเป็นช่วงสั้นๆ อีกด้วย
เสียบปลั๊กแล้วไฟช็อต อันตรายไหม?
เสียบปลั๊กแล้วไฟดับทั้งบ้าน แน่นอนว่าเป็น “อันตราย” หากกำลังจะเสียบปลั๊กตอนใช้งานแล้วเกิดประกายไฟแลบแค่เพียง 1 ครั้ง ก็ถือว่าไม่อันตรายมากนัก แต่ถ้าหากเสียบปลั๊กเข้าไปแล้ว ก็ยังคงมีประกายไฟแลบอยู่ถือว่าเป็นสิ่งที่อันตรายสูงมากๆ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ต้องรีบปิดสวิตช์การใช้งานทันที ยิ่งอยู่บริเวณที่มีแก๊สรั่วด้วยก็จะเกิดการระเบิดในทันที
รับมืออย่างไร? เมื่อเสียบปลั๊กแล้วไฟช็อต จนไฟดับทั้งบ้าน
เมื่อเสียบปลั๊กแล้วไฟช็อต จนเกิดเหตุการณ์ไฟดับ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน แล้วก็เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นช่วงกลางวันหรือกลางคืน สำหรับวิธีการรับมือเมื่อไฟฟ้าดับหลังจากไฟช็อต มีดังนี้
1. ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด
เมื่อเสียบปลั๊กแล้วไฟดับทั้งบ้าน เริ่มต้นรับมือง่ายๆ เพียงดึงปลั๊กไฟและปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นตัวช่วยป้องกันการกระชากหลังจากที่กระแสไฟฟ้ากลับมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ ที่สำคัญยังสามารถช่วยปกป้องความเสียหายต่ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าได้อีกด้วย
2. เตรียมอุปกรณ์ให้แสงสว่าง
หากเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่วงตอนกลางคืน สิ่งที่ตามมาหลังจากเสียบปลั๊กไฟแล้วไฟดับ ก็คือความมืด แต่ไม่ต้องตกใจไป อันดับแรกเพียงตั้งสติ แล้วหาอุปกรณ์ที่สามารถสร้างแสงสว่างได้ แล้วถ้าหากกำลังปฏิบัติกิจกรรมอะไรอยู่ แนะนำว่าควรหยุดกิจกรรมก่อนรอให้ไฟมาแล้วค่อยเริ่มต่อตามปกติ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงต่างๆ และเพื่อความสะดวก ซึ่งอุปกรณ์ที่สามารถสร้างแสงสว่างได้ ประกอบไปด้วย ไฟฉาย เทียนไข ไฟแช็ก และไม้ขีดไฟ เป็นต้น
3. ติดต่อช่างไฟฟ้า
หากมองไปละแวกใกล้เคียงแล้ว แล้วมีบ้านเราไฟดับอยู่หลัง แนะนำว่าให้ติดต่อช่างไฟฟ้า เพราะอาจจะเกิดจากการเสียบปลั๊กไฟแล้วไฟดับ แบบนี้ต้องรีบโทรตามให้ช่างไฟฟ้าผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบสาเหตุ เพื่อเร่งรีบเข้าไปแก้ไขได้อย่างถูกวิธีและมีความปลอดภัยได้เลยทันที ส่วนวิธีการแก้ไขเบื้องต้นระหว่างรอช่างไฟฟ้ามา เจ้าของบ้านสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการถอดปลั๊กและปิดสวิตช์อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน
4. ติดต่อการไฟฟ้า
หากพบว่าหลังจากเสียบปลั๊กแล้วไฟกะพริบ จนเกิดเหตุการณ์ไฟดับ ลองหันไปสังเกตรอบๆ บ้านและบ้านข้างๆ ดูว่าไฟดับเหมือนกันหรือไม่ เมื่อพบว่ามีบ้านหลังอื่นๆ ที่เกิดเหตุการณ์ไฟดับด้วยเช่นเดียวกัน ต้องรีบดำเนินการติดต่อไปยังการไฟฟ้าทันที เพราะปัญหาไฟดับครั้งนี้อาจจะไม่ได้เกิดจากการเสียบปลั๊กแล้วมีเสียงจี่ หรือมีไฟกะพริบจนไฟฟ้าดับ แต่อาจเกิดจากปัญหาปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง
ป้องกันกรณีเสียบปลั๊กแล้วไฟช็อต จนไฟดับทั้งบ้านได้อย่างไร
อย่างที่ทราบกันไปเบื้องต้นแล้วว่า อาการเสียบปลั๊กแล้วไฟดับ แม้ไม่สามารถป้องกันได้แบบ 100% ก็จริง แต่การป้องกันไว้ก่อนดีกว่าการตามแก้ทีหลังแน่นอน เพราะเสียบปลั๊กไฟแล้วไฟดับ เป็นเหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวินาที บางครั้งก็ไฟบ้านดับหลังเดียว บางครั้งก็ดับทีเดียวทุกหลัง ซึ่งมีโอกาสสูงมากที่จะเกิดไฟฟ้าลัดวงจรขึ้นมาได้ แน่นอนว่าเป็นเหตุการณ์ที่อาจจะส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ได้โดยไม่รู้ตัว ส่วนวิธีป้องกันเสียบปลั๊กไฟสปาร์กแก้ยังไง มาดูกัน
1. เลือกปลั๊กไฟที่มีคุณภาพ
เป็นที่ทราบกันดีว่า ของที่มีคุณภาพมักแลกมากับราคาสูง เมื่ออิงกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้หลายคนจึงเลือกมองหาสินค้าในราคาที่ถูกลง ปลั๊กไฟก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นแล้วไม่ต้องสงสัยเลยว่าเสียบปลั๊กแล้วไฟแลบเกิดจากอะไร ก็เกิดจากการเลือกใช้ของที่ไม่มีคุณภาพนั่นเอง
หากต้องการป้องกันไฟสปาร์ก ควรเลือกซื้อปลั๊กไฟที่มีคุณภาพ ได้รับการรับรองผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ที่บ่งบอกชัดเจนว่ามีความปลอดภัยสูง เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเสียบปลั๊กไฟแล้วไฟดับ ไฟช็อตได้
2. เลี่ยงใช้ปลั๊กไฟที่เสื่อมสภาพ
ปัญหานี้เป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุด เกือบทุกบ้านเลยก็ว่าได้ ที่ยังคงฝืนใช้งานปลั๊กไฟเก่ามาเป็นระยะเวลายาวนานและต่อเนื่องโดยไม่ยอมเปลี่ยนแม้ว่าปลั๊กไฟจะเก่าแค่ไหนแล้วก็ตาม แต่ต้องห้ามลืมเด็ดขาดว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นย่อมเสื่อมสภาพไปตามระยะเวลา ยิ่งปลั๊กไฟถือว่าเป็นแหล่งสะสมความร้อนยอดเยี่ยมเลยก็ว่าได้ บางครั้งเมื่อเสียบปลั๊กแล้วไฟช็อตได้ ซึ่งมีโอกาสสูงที่ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร จึงควรหมั่นตรวจเช็กเป็นประจำเพื่อเปลี่ยนทันทีเมื่อเริ่มเก่าแล้ว ก่อนเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด
3. ต่อปลั๊กพ่วงให้ถูกวิธี
หากมีความจำเป็นที่ต้องต่อปลั๊กพ่วง ควรต่ออย่างถูกวิธี ไม่ควรใช้กระแสไฟฟ้าเกินขนาดที่ชุดสายพ่วงจะรับไหว เพราะหากใช้กระแสไฟฟ้าที่เกินขนาดจนเกินไปก็มีโอกาสสูงที่จะทำให้การเสียบปลั๊กแล้วไฟแลบเกิดจากความร้อนก่อตัว สุดท้ายก็กลายเป็นไฟฟ้าลัดวงจร และที่สำคัญไม่ควรนำปลั๊กพ่วงไปใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการใช้กระแสไฟฟ้าตลอดเวลาอย่างเครื่องทำน้ำเย็น และตู้เย็น
4. เลือกปลั๊กที่มีสวิตช์แต่ละรู
สำหรับวิธีการเลือกปลั๊กพ่วง ปลั๊กไฟ เพื่อความปลอดภัย ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วไหล ป้องกันการเสียบปลั๊กแล้วกะพริบหรือมีเสียงจี่ จะต้องเลือกปลั๊กพ่วงที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ซึ่งจุดสังเกตก็คือจะต้องมีสวิตช์เปิดและปิดแยกในแต่ละรู สามารถช่วยป้องกันไฟกระชากในการเสียบใช้งานและช่วยไม่ให้ปลั๊กช็อตได้
ปัญหาที่ตามมา หากเสียบปลั๊กแล้วไฟช็อต จนไฟดับทั้งบ้าน
แน่นอนว่าหากเสียบปลั๊กแล้วไฟช็อต จนไฟดับทั้งบ้านเป็นเรื่องผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและต้องมีปัญหาตามมาแน่นอน เพราะกระแสไฟฟ้าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตยุคปัจจุบัน แต่จะมีปัญหาอะไรบ้าง? ตามไปดูกันเลย
- เครื่องปรับอากาศและพัดลมไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ทำให้ต้องทนร้อนกับสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว
- การดำเนินชีวิตตามกิจวัตรประจำวันไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างปกติ ทั้งการทำความสะอาดบ้าน การประกอบอาหาร เนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่สามารถทำงานได้หากไม่มีไฟฟ้า
- หากไฟดับตอนกลางคืน ต้องทนอยู่กับความมืด ส่งผลให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นในบ้านยากลำบาก
ป้องกันกรณีเสียบปลั๊กแล้วไฟช็อต จนไฟดับทั้งบ้านได้อย่างไร
การเลือกซื้อปลั๊กพ่วงจัดได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง เนื่องจากปลั๊กพ่วงตัวเดียวอาจเป็นภัยเงียบสู่ภัยไฟไหม้บ้านทั้งหลังได้เลยทีเดียว แน่นอนว่าปลั๊กพ่วงแทบจะเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทุกบ้านมี บางบ้านอาจคิดว่าใช้แบบไหนก็ได้ เลือกที่ราคาถูกไปก่อน โดยไม่ได้ตรวจสอบคุณภาพของปลั๊กพ่วงว่าดีหรือไม่ ซึ่งความคิดแบบนี้เป็นความคิดที่ผิด เนื่องจากการเลือกซื้อปลั๊กพ่วงจะคำนึงแค่ของที่ราคาถูกอย่างเดียวไม่ได้แน่นอน มาดูวิธีเลือกปลั๊กพ่วงที่มีคุณภาพและไม่อันตรายได้ที่นี่
- เลือกซื้อปลั๊กพ่วงที่มีคุณภาพ ได้รับมาตรฐานมอก.ปลั๊กพ่วง (มอก. 2432-2555) บนตัวปลั๊กพ่วงปรากฏบนบรรจุภัณฑ์อย่างชัดเจน
- เลือกซื้อปลั๊กพ่วงที่หัวปลั๊กเสียบเป็น 3 ขากลม ต้องมีฉนวนกันกระแสไฟฟ้าที่รอบโคนขากลม แถมได้รับมาตรฐาน มอก. 166-2549 และเมื่อเสียบหัวปลั๊กกับเต้าเสียบต้องไม่หลวม เพราะจะเป็นสาเหตุให้เกิดไฟไหม้ได้
- การเลือกเต้ารับจะต้องมีม่านนิรภัย และได้รับมาตรฐาน มอก. 166-2549 เพื่อป้องกันนิ้วมือไปสัมผัสกระแสไฟฟ้า และช่องสายดินจะต้องเป็นช่องจริงต่อวงจรได้ ส่วนสายไฟต้องเป็นแบบกลมและได้รับมาตรฐาน มอก. 11-2553 และตัวรางปลั๊กพ่วงจะต้องทำมาจากวัสดุที่สามารถป้องกันการติดไฟได้
- หากเลือกซื้อปลั๊กพ่วงที่มีตั้งแต่ 3 ช่องเป็นต้นไป ต้องมีตัวตัดไฟที่เป็นเบรกเกอร์เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน
- สำหรับตัวปลั๊กพ่วง ป้องกันการเสียบปลั๊กไฟแล้วไฟดับจะต้องมีการระบุข้อมูลเกี่ยวกับแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ ปลั๊กพ่วงแต่ละตัวจะต้องรองรับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 440 โวลต์ พร้อมกับรองรับกระแสไฟฟ้าสูงสุดได้ไม่เกิน 16 แอมแปร์
สรุป
เสียบปลั๊กไฟแล้วไฟดับ ไฟช็อต เป็นต้นตอปัญหาที่นำมาซึ่งผลกระทบที่ส่งผลในชีวิตประจำวันต่างๆ มากมาย เพราะเมื่อไฟดับก็มักจะทำกิจกรรมไม่สะดวก หากไม่อยากประสบปัญหาไฟดับบ่อยๆ ควรเลือกซื้ออุปกรณ์ที่มีคุณภาพและตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในบ้านอย่างสม่ำเสมอด้วยการใช้ไขควงเช็กไฟแตะจุดต่างๆ ที่รู้สึกว่าเสียบปลั๊กแล้วกะพริบ ไฟช็อตหรือมีความผิดปกติเกิดขึ้น หากพบเจอจุดไหนต้องรีบแก้ไขทันที เพราะมีโอกาสสูงมากๆ ที่จุดนั้นจะมีไฟรั่ว
หากไม่อยากให้เหตุการณ์ไฟฟ้าดับกลายมาเป็นปัญหากังวลใจ แนะนำตัวช่วยดีๆ อย่างเครื่องสำรองไฟฟ้า ไม่ว่าจะบ้านไหนไฟดับ บ้านเราก็ไม่พบเจอกับปัญหาไฟดับอีกต่อไป สามารถใช้งานทุกอย่างได้ตามปกติ Chuphotic มีจำหน่ายเครื่องสำรองไฟฟ้าคุณภาพดี ผ่านการรับรองมาตรฐาน ใช้งานได้ยาวนาน แถมราคาถูกมากๆ ไม่มีผิดหวังแน่นอน