Chuphotic จำหน่ายตัวปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติของแท้ คุณภาพเยี่ยม
Chuphotic เป็นตัวแทนจำหน่ายตัวปรับแรงดันไฟฟ้า หรือเครื่อง Stabilizer หลายรุ่น หลายแบบ การันตีคุณภาพยอดเยี่ยม ของแท้ทุกชิ้น บริการให้คำปรึกษา สำหรับลูกค้าที่คิดว่าจะเลือกซื้อเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้ายี่ห้อไหนดี พร้อมกับการรับประกันสินค้าทุกชิ้น และบริการด้วยความใส่ใจหลังการขาย
ตัวปรับแรงดันไฟฟ้า คืออะไร?
ตัวปรับแรงดันไฟฟ้า คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยรักษาแรงดันไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในระดับคงที่ มีการทำงานโดยการเพิ่ม หรือลดปริมาณกระแสไฟฟ้า ทั้งกระแสตรง (DC) และกระแสสลับ (AC) ที่ไหลผ่านอุปกรณ์ ซึ่งเครื่องรักษาระดับแรงดันไฟฟ้านี้ สามารถนำมาใช้กับอุปกรณ์ที่หลากหลาย ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ไปจนถึงรถยนต์ และยังพบได้ในอุปกรณ์หลายประเภท รวมทั้งตัวควบคุมเชิงเส้น ตัวควบคุมสวิตช์ และปั๊มชาร์จ
โดยทั่วไปแล้ว ตัวปรับแรงดันไฟฟ้ามีทั้งหมด 3 ขั้ว คือขั้วสำหรับแรงดันไฟฟ้าขาเข้า ขั้วสำหรับแรงดันขาออก และขั้วสำหรับกราวด์ ส่วนใหญ่แล้วแรงดันไฟฟ้าขาเข้ามักจะสูงกว่าแรงดันไฟขาออก ทำให้เครื่องรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าทำหน้าที่ลดกระแสไฟที่ไหลผ่านอุปกรณ์ แต่ในบางกรณีที่แรงดันไฟขาเข้าต่ำกว่าแรงดันไฟขาออก ตัวปรับแรงดันไฟฟ้าจึงค่อยเปลี่ยนมาเพิ่มกระแสไฟที่ไหลผ่านอุปกรณ์
ส่วนประกอบของตัวปรับแรงดันไฟฟ้า
ส่วนประกอบพื้นฐานของตัวปรับแรงดันไฟฟ้า ที่ทำให้เครื่องทำงานได้มีประสิทธิภาพจะมีอะไรบ้าง มาดูแต่ละส่วนประกอบพร้อมหน้าที่ได้ดังนี้
- ขดลวด M (M-Winding Section) คือขดลวดหลัก ที่ทำงานในส่วนของความต้านทานกระแสสลับ (L/Reactance Generation)
- ขดลวด J (J-Winding Section) คือขดลวดที่มีไว้สำหรับปรับ และควบคุมการทำงานของตัวปรับแรงดันไฟฟ้า
- ขดลวด K (K-Winding Section) คือขดลวดที่ทำงานในส่วนของวงจรกระแสไฟฟ้าสลับ (L/C Resonance)
โดยการทำงานคร่าวๆ ของแต่ละส่วนประกอบคือ ขดลวด M และขดลวด J จะทำการผลิต Magnetic Flux หรือจำนวนเส้นแรงแม่เหล็กขึ้น เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขั้ว R, S และ T ซึ่งแต่ละเฟสจะทำให้เกิด Magnetic Force หรือแรงแม่เหล็กขึ้นมาในแต่ละขดลวด โดยขดลวด M กับขดลวด J จะช่วยรักษาสมดุลของแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำไฟฟ้า ด้วยการควบคุมแรงดัน และกระแสไฟฟ้าไว้ให้อยู่ในระดับที่ตั้งค่าไว้ ส่วนขดลวด K จะทำหน้าที่ดูดซับฮาร์มอนิคในระบบจ่ายไฟฟ้าเอาไว้
ประเภทของตัวปรับแรงดันไฟฟ้า
ตัวปรับแรงดันไฟฟ้าแต่ละประเภทก็มีความต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ และความเหมาะสมในการใช้งาน โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
ตัวปรับแรงดันไฟฟ้าแบบรีเลย์ (Relay Type Voltage Stabilizers)
เป็นเครื่องรักษาระดับแรงดันไฟฟ้า ที่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และชุดรีเลย์นอกเหนือจากหม้อแปลงไฟฟ้า ทำงานโดยการสลับรีเลย์ เพื่อเชื่อมต่อหม้อแปลงตัวใดตัวหนึ่งเข้ากับโหลด มักนิยมนำไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีจำนวนวัตต์ต่ำ เช่น เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องมือสื่อสาร ตู้เย็น ปั๊มน้ำ เป็นต้น
ตัวปรับแรงดันไฟฟ้าแบบควบคุมด้วยเซอร์โว (Servo Controlled Voltage Stabilizers)
เครื่องรักษาระดับแรงดันไฟอัตโนมัติ ที่มีวงจรควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำหน้าที่ตรวจจับความผันผวนของแรงดันไฟฟ้า มักนิยมนำไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กไปถึงกลาง เช่น ตู้เซฟ โฮมเธียเตอร์ ระบบแสง หรือเสียงสตูดิโอ เครื่องมือทันตแพทย์ เป็นต้น
ตัวปรับแรงดันไฟฟ้าแบบคงที่ (Static Voltage Stabilizers)
ทำหน้าที่แก้ไข หรือควบคุมแรงดันไฟฟ้า ที่มีความแม่นยำมากกว่าเครื่องรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าประเภทอื่นๆ ประกอบด้วยตัวแปลงพลังงาน IGBT หม้อแปลงเพิ่มบัค และไมโครคอนโทรลเลอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์ หรือตัวควบคุมที่ใช้ DSP มักนิยมนำไปใช้กับธุรกิจที่ต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมรถยนต์ โรงแรม และรีสอร์ต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ตัวปรับแรงดันไฟฟ้า มีกี่ขนาด
ขนาดของตัวปรับแรงดันไฟฟ้ามีหลายขนาด ตั้งแต่แรงดัน 12V 220V 260V ไปจนถึง 380V ซึ่งส่งผลต่อการทำงานด้วยเช่นกัน หากมีขนาดใหญ่ก็ยิ่งมีประสิทธิภาพในการควบคุมไฟฟ้าได้มากกว่า โดยขนาดวัตต์ของเครื่องรักษาระดับแรงดันไฟฟ้า มีดังนี้
- ตัวปรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 1,000VA
- ตัวปรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 5,000VA
- ตัวปรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 7,500VA
- ตัวปรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 8,000VA
- ตัวปรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 10,000VA
- ตัวปรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 15,000VA
- ตัวปรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 20,000VA
- ตัวปรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 30,000VA
ตัวปรับแรงดันไฟฟ้า ทำงานอย่างไร
ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายไฟให้คงที่ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในโหลด หรือแรงดันไฟฟ้าขาเข้า ซึ่งทำได้โดยแปลงแรงดันไฟฟ้าส่วนเกินให้เป็นความร้อน แล้วจ่ายไฟออกไปด้วยระบบทำความเย็น จากการทำงานของเครื่องรักษาระดับแรงดันไฟฟ้า จึงช่วยทำให้มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะได้รับกระแสไฟฟ้าที่สม่ำเสมอ แม้การจ่ายไฟของแหล่งจ่ายไฟจะผันผวนก็ตาม
โดยการผันผวนแต่ละกรณี ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้าจะทำการเลือก 2 เทคนิคเพื่อนำมาใช้ในการควบคุมแรงดันไฟฟ้า ดังนี้
- การควบคุมเชิงเส้น ทำงานโดยปรับความต้านทานในวงจรอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาระดับแรงดันไฟให้คงที่
- การควบคุมการสลับ ทำงานโดยเปิด และปิดเครื่องอย่างรวดเร็ว เพื่อให้มีกระแสไฟฟ้าไปถึงโหลดเพียงชั่วครู่
ตัวปรับแรงดันไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร
สถานที่ไหนที่มีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเยอะ จำเป็นต้องมีตัวปรับแรงดันไฟฟ้า หรือเครื่องรักษาระดับแรงดันไฟอัตโนมัติ เพราะเมื่อกระแสไฟฟ้าผิดปกติ เครื่องจะได้จ่ายกระแสไฟฟ้าให้ หรือหากเกิดเหตุการณ์ไฟดับ ไฟกระชาก ไฟเกิน ตัวปรับแรงดันไฟฟ้าก็จะช่วยปรับแรงดันไฟฟ้าให้เหมาะสม ป้องกันอันตรายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้ามีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
ตัวปรับแรงดันไฟฟ้าใช้กับอุปกรณ์ไหนได้บ้าง
ตัวปรับแรงดันไฟฟ้าสามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายขนาด และหลายชนิด โดยส่วนใหญ่จะเหมาะกับอุปกรณ์ที่ไม่ต้องใช้เครื่องสำรองไฟ หรือมีการทำงานตลอดเวลา ดังนี้
- WiFi Router
- คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ไว้ใช้เชื่อมต่อ เช่น จอ เครื่องพิมพ์ ลำโพง เป็นต้น
- อุปกรณ์ทางการแพทย์
- อุปกรณ์สื่อสาร
- ระบบโทรคมนาคม
- ระบบประมวลผลข้อมูล
- เครื่องจักรในอุตสาหกรรม
- อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น สมาร์ตทีวี เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องชงกาแฟ แอร์ พัดลม เป็นต้น
ข้อดีของการใช้ตัวปรับแรงดันไฟฟ้า
ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมแรงดันไฟฟ้าในวงจร ทำได้โดยการเปรียบเทียบแรงดันไฟขาเข้ากับแรงดันอ้างอิง แล้วปรับแรงดันไฟขาออกให้สอดคล้องกัน มีข้อดีหลายประการ ดังนี้
- ช่วยปกป้องวงจรไฟฟ้าจากความเสียหาย ซึ่งเกิดจากแรงดันไฟฟ้าที่มาก หรือน้อยเกินไป
- ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของวงจรไฟฟ้า โดยมีการตรวจสอบการจ่ายพลังงานในปริมาณที่ถูกต้องให้กับแต่ละส่วนประกอบ
- ช่วยยืดอายุการใช้งานของวงจรไฟฟ้า โดยป้องกันไม่ให้กระแสไฟไหลผ่านมากเกินไป
- ช่วยป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหายจากการมีความร้อนสูงเกินไป
ข้อจำกัดของการใช้ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้า
การใช้ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้า ซึ่งรวมถึงต้นทุน น้ำหนัก และประสิทธิภาพ มีข้อจำกัด ดังนี้
- ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้า มีหลายราคาให้เลือกซื้อ ซึ่งราคามักขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ และคุณภาพ หากมีงบประมาณที่จำกัด อาจจะได้เครื่องรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติไม่ครอบคลุมตามที่ต้องการ
- ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่จะมีน้ำหนักมาก อาจทำให้การเคลื่อนย้ายไม่ค่อยสะดวก สามารถใช้งานได้แค่เฉพาะพื้นที่ ไม่เหมือนกับตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่มีขนาดเล็ก ซึ่งมีน้ำหนักเบา และเคลื่อนย้ายได้ง่าย
- ประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องรักษาระดับแรงดันไฟฟ้า มักมีอยู่แค่ประมาณ 50-60% เท่านั้น เท่ากับทุก 100 วัตต์ที่เข้าสู่ส่วนควบคุม จะมีแรงดันไฟฟ้าขาออกอยู่แค่ 50-60 วัตต์เท่านั้น
วิธีการเลือกตัวปรับแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสม
ตัวปรับแรงดันไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในการควบคุมแรงดันไฟฟ้าในวงจร ไฟฟ้ากระแสสลับ หรือกระแสตรง โดยมีวิธีการเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน ดังนี้
- หากต้องการควบคุมแรงดันไฟฟ้าในรูปแบบทั่วไปกับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป ให้เลือกใช้ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่ใช้โหมดควบคุมเชิงเส้น ที่ใช้ตัวต้านทาน และตัวเก็บประจุหลายชุด เพื่อควบคุมการไหลของกระแส มีการกำหนดไฟฟ้าขาออกด้วยค่าควบคุม ±5%
- หากต้องการควบคุมแรงดันไฟฟ้าในรูปแบบที่ซับซ้อน และมีประสิทธิภาพ กับอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องจักรที่ต้องการความแม่นยำสูง ให้ใช้ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่ใช้โหมดสวิตช์ ที่มีการกำหนดไฟฟ้าขาออกด้วยค่าควบคุม ±2.5% หรือ ±1% เพราะค่ายิ่งน้อย ก็จะยิ่งควบคุมได้แม่นยำมากขึ้น แต่ก็จะมีราคาแพงกว่า
วิธีเลือกซื้อตัวปรับแรงดันไฟฟ้า ให้ได้คุณภาพ
ปัจจุบันมีตัวปรับแรงดันไฟฟ้าอยู่หลายยี่ห้อ หลายเกรด หลายราคา แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าควรซื้อเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้ายี่ห้อไหนดี ให้มีคุณภาพ และมีความเหมาะสม ควรเทียบกันอย่างไร โดยสามารถพิจารณาตามปัจจัยต่างๆ ดังนี้
- เลือกตัวปรับแรงดันไฟฟ้าที่ได้รับการรับรอง ผ่านมาตรฐานด้านความปลอดภัย
- เลือกซื้อโดยเผื่อกำลังวัตต์ไว้ 30% เพิ่มความเสถียรในระยะยาว อีกทั้งเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งาน
- คำนึงถึงสภาพแวดล้อมของสถานที่ในการติดตั้ง หากติดนอกอาคาร ควรเลือกตัวปรับแรงดันไฟฟ้าที่กันน้ำ และกันฝุ่นได้ หากใช้ในบ้าน หรือที่อยู่อาศัย ก็ควรเลือกรุ่นที่ไม่มีพัดลม เพื่อไม่ให้มีเสียงรบกวน
- ซื้อเครื่องรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าจากตัวแทนจำหน่ายที่มีบริการดูแล ตั้งแต่ก่อนติดตั้ง ไปจนถึงหลังการติดตั้ง พร้อมให้บริการซ่อมแซมอุปกรณ์
สรุป
ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ช่วยควบคุมแรงดันไฟฟ้าในอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ข้อดีคือใช้เพื่อรักษาระดับแรงดันไฟให้คงที่ แม้การจ่ายไฟของแหล่งจ่ายไฟจะผันผวนก็ตาม ซึ่งเครื่องรักษาระดับแรงดันไฟฟ้ายังมีขนาดที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับจำนวนกำลังวัตต์ด้วย ทั้งนี้ การเลือกใช้ตัวปรับแรงดันไฟฟ้าให้เหมาะสม ควรเลือกจากโหมดเชิงเส้น ที่ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป และโหมดสวิตช์ ที่ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องการความแม่นยำสูง ซึ่งสามารถซื้อเครื่องรักษาระดับแรงดันไฟอัตโนมัติที่มีคุณภาพได้จาก Chuphotic เพราะมีหลายแบรนด์ หลายขนาด และหลายรุ่น ให้เลือกใช้ได้ตรงตามการใช้งาน พร้อมมีบริการให้คำปรึกษา ทั้งก่อนซื้อ และหลังซื้อ หากอุปกรณ์มีปัญหา ทางเราก็รับซ่อมแซมให้ฟรี ตามการรับประกันอีกด้วย