Showing 1–9 of 17 results

ระบบไฟฟ้าโรงพยาบาลทำงานอย่างไร ทำไมต้องมีเครื่องปั่นไฟทุกห้อง

ระบบไฟฟ้าโรงพยาบาลทำงานอย่างไร ทำไมต้องมีเครื่องปั่นไฟทุกห้อง

Key Takeaway

  • ระบบไฟฟ้าในโรงพยาบาลทำงานเพื่อให้บริการไฟฟ้าที่เสถียร และปลอดภัย รองรับการใช้งานของอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยมีการติดตั้งระบบสำรองไฟฟ้า และเครื่องปั่นไฟ เพื่อป้องกันความเสียหายเมื่อเกิดไฟดับ
  • ประเภทระบบสำรองไฟในโรงพยาบาล มีทั้งเครื่องสำรองไฟ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และสวิตช์ถ่ายโอนอัตโนมัติ
  • ระบบสำรองไฟในโรงพยาบาลสำคัญมาก เพราะป้องกันการชำรุดของเครื่องมือแพทย์ เพื่อรักษาผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง รักษาสภาพของวัคซีน และยา ไปจนถึงสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ได้ตลอดเวลา
  • Chuphotic มี UPS หลายรุ่น และขนาด ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในโรงพยาบาล เพื่อให้การสำรองไฟฟ้าราบรื่น มีประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย และการทำงานของอุปกรณ์ทางการแพทย์

โรงพยาบาลต้องมีระบบไฟฟ้าที่ออกแบบเพื่อความปลอดภัย และประสิทธิภาพสูงสุด โดยต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการติดตั้ง และมีระบบสำรองไฟฟ้า และ UPS ในห้องต่างๆ เพื่อให้การบริการทางการแพทย์ไม่หยุดชะงักในกรณีไฟฟ้าดับ ซึ่งช่วยปกป้องชีวิต และสุขภาพของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การทำงานของระบบไฟฟ้าในโรงพยาบาล

การออกแบบระบบไฟฟ้าในโรงพยาบาล จำเป็นต้องมีทำให้มีความเพียงพอต่อความต้องการในการให้บริการด้านสุขภาพ เพื่อรองรับขั้นตอนการรักษาต่างๆ ของผู้ป่วย และการดูแลจากผู้ให้บริการด้านการพยาบาล โดยต้องพิจารณาปัจจัยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำงาน หรือการรักษา นอกจากนี้ ระบบที่นำมาใช้ต้องช่วยประหยัดพลังงาน เนื่องจากโรงพยาบาลนั้นเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน

ประเภทของระบบสำรองไฟ (UPS) ในโรงพยาบาล

เพื่อให้ระบบไฟฟ้าในโรงพยาบาลสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา จำเป็นต้องมีเครื่องสำรองไฟฟ้า ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระบบหลัก ได้แก่

เครื่องสำรองไฟ (UPS)

1. เครื่องสำรองไฟ (UPS)

เครื่องสำรองไฟ (UPS – Uninterruptible Power Supply) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการให้พลังงานไฟฟ้าแก่โหลด (อุปกรณ์ไฟฟ้า) เมื่อเกิดการขัดข้องในระบบไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าดับ หรือไฟฟ้าตก โดย UPS จะทำหน้าที่ให้พลังงานสำรองในระยะเวลาสั้นๆ จนกว่าจะมีการกลับมาของไฟฟ้าหลัก หรือจนกระทั่งมีการปิดอุปกรณ์อย่างปลอดภัย โดยมีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้

  • Off Line UPS ป้องกันไฟฟ้าดับเพียงอย่างเดียว มักจะมีราคาที่ถูกกว่าอุปกรณ์ประเภทอื่นๆ
  • Line Interactive UPS with Stabilizer ป้องกันไฟฟ้าดับ และควบคุมแรงดันไฟฟ้า เป็น UPS ที่เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความเสถียร เช่น ในสำนักงาน หรือโรงพยาบาล
  • On Line UPS ป้องกันไฟฟ้าดับ ควบคุมแรงดันไฟฟ้า ในกรณีไฟฟ้าตก หรือเกิน มีกระแสไฟจ่ายตลอดเวลา ป้องกันสัญญาณรบกวน และออกแบบเพื่อป้องกันการโหลดอย่างสมบูรณ์

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)

2. เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) คืออุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยการเหนี่ยวนำแม่เหล็กตามหลักการของไมเคิล ฟาราเดย์ คือการเคลื่อนที่ของขดลวดตัวนำผ่านสนามแม่เหล็ก หรือการเคลื่อนที่แม่เหล็กผ่านขดลวดตัวนำ จะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำในขดลวด 

ข้อดีคือสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยมากจะเป็นชนิดกระแสสลับ ทั้งแบบ 1 เฟส และ 3 เฟส โดยเฉพาะเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ใช้กับระบบไฟฟ้าในโรงพยาบาลจะเป็นแบบ 3 เฟส ซึ่งผลิต และจ่ายกำลังไฟฟ้าได้มากกว่าถึงสามเท่าของแบบ 1 เฟส

สวิตช์ถ่ายโอนอัตโนมัติ (ATS)

3. สวิตช์ถ่ายโอนอัตโนมัติ (ATS)

สวิตช์ถ่ายโอนอัตโนมัติ (ATS) คืออุปกรณ์ที่ใช้เลือกทางเดินไฟ หรือแหล่งจ่ายไฟระหว่างแหล่งจ่าย 2 แหล่ง ได้แก่ เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากับหม้อแปลง หรือหม้อแปลงกับหม้อแปลง โดยในโรงพยาบาลมักเลือกใช้ระหว่างหม้อแปลงไฟฟ้ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งสามารถเปลี่ยนแหล่งจ่ายไฟได้อย่างรวดเร็วโดยอัตโนมัติ เพิ่มความเชื่อถือได้ในระบบไฟฟ้า ลดความเสี่ยงจากไฟฟ้าดับ ปรับปรุงความสะดวกในการใช้งาน และช่วยรักษาความเสถียรของพลังงานไฟฟ้า

มาตรฐานความปลอดภัยในการติดตั้งระบบไฟฟ้าโรงพยาบาล

มาตรฐานความปลอดภัยในการติดตั้งระบบไฟฟ้าโรงพยาบาล

ระบบไฟฟ้าในโรงพยาบาลต้องเป็นไปตามมาตรฐานห้องไฟฟ้า วสท. เพื่อรับรองความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งประกอบด้วยมาตรฐานต่างๆ ดังนี้

ระบบไฟฟ้าแบบ TN

ระบบไฟฟ้าแบบ TN เป็นระบบที่มีสายดิน ซึ่งมีการป้องกันโดยการตัดวงจรจ่ายไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อเกิดปัญหาทางไฟฟ้า เช่น ไฟรั่ว หรือการลัดวงจร ระบบนี้ช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าช็อต และเพิ่มความปลอดภัยในสถานที่ต่างๆ รวมถึงโรงพยาบาลที่ต้องการความมั่นคง และเชื่อถือได้ในระบบไฟฟ้า โดยเฉพาะในระบบไฟฟ้าของห้องผ่าตัดที่มีความสำคัญต่อการรักษาผู้ป่วย 

เหมาะสำหรับวงจรไฟฟ้าในโรงพยาบาล ดังนี้

  • วงจรไฟฟ้าสำหรับแหล่งจ่ายไฟฟ้าของเตียงผ่าตัด
  • วงจรไฟฟ้าสำหรับเครื่องเอกซเรย์
  • วงจรไฟฟ้าสำหรับบริภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่มีกำลังไฟฟ้าเกินกว่า 5 กิโลโวลต์แอมแปร์
  • วงจรไฟฟ้าสำหรับบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ไม่วิกฤต (ซึ่งไม่ได้ใช้เพื่อการช่วยชีวิต)

ระบบไฟฟ้าแบบ IT แพทย์ 

วงจรจ่ายไฟฟ้าให้กับบริภัณฑ์ไฟฟ้าแพทย์ เป็นระบบไฟฟ้าแบบ IT มีลักษณะสำคัญคือการทำงานในลักษณะที่แยกจากระบบไฟฟ้าทั่วไป โดยมีการใช้ระบบที่ไม่ต้องใช้การเชื่อมต่อกับสายดินในทุกจุด ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากไฟฟ้าช็อตได้เป็นอย่างดี

มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบการรั่วของไฟฟ้า (Insulation Monitoring Device) เพื่อแจ้งเตือนเมื่อเกิดปัญหาการรั่วไหล หรือความผิดปกติในระบบไฟฟ้า ซึ่งช่วยป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นในโรงพยาบาล ทั้งต่อผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์

โดยมีข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าตามมอก. 454 ดังนี้

  • กระแสไฟฟ้ารั่วของขดลวดถึงดิน และเปลือกหุ้มต้องไม่เกิน 0.5 มิลลิแอมแปร์ ในภาวะไม่มีโหลด โดยหม้อแปลงไฟฟ้าต้องป้อนด้วยแรงดันไฟฟ้า และความถี่ที่กำหนด
  • ต้องใช้หม้อแปลงไฟฟ้า 1 เฟสในระบบ IT แพทย์ สำหรับบริภัณฑ์ที่ยึดกับที่ และหยิบยกได้ โดยกำลังไฟฟ้าด้านออกต้องไม่น้อยกว่า 0.5 กิโลโวลต์แอมแปร์ และไม่เกิน 10 กิโลโวลต์แอมแปร์
  • หากต้องจ่ายโหลด 3 เฟสผ่านระบบ IT ให้มีหม้อแปลง IT แยกต่างหาก และแรงดันไฟเส้น-เส้นด้านออกต้องไม่เกิน 250 โวลต์

ข้อกำหนดในการติดตั้งระบบสำรองไฟในอาคารโรงพยาบาล

ข้อกำหนดหนึ่งสำหรับโรงพยาบาลระบุว่า ‘จำเป็นต้องติดตั้งเครื่องปั่นไฟ เพื่อให้มั่นใจว่ามีไฟฟ้าสำรองในกรณีเกิดไฟดับ’ โดยระบบสำรองไฟในอาคารโรงพยาบาลต้องเป็นไปตามข้อกำหนด ดังนี้

  • ติดตั้งในพื้นที่กว้างเพียงพอสำหรับการปฏิบัติงาน
  • ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินสำหรับการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ต้องสามารถจ่ายไฟได้ภายใน 10 วินาทีหลังจากที่ระบบไฟฟ้าหลักหยุดทำงาน
  • เครื่องกำเนิดไฟฟ้าต้องมีกำลังเพียงพอสำหรับจ่ายไฟสำรองให้ดวงโคม และอุปกรณ์จำเป็นในแผนกฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ห้องผู้ป่วยหนัก ห้องคลอด และธนาคารเลือด
  • มีเครื่องสำรองไฟฟ้าฉุกเฉิน (UPS) สำหรับจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์การแพทย์ที่สำคัญสำหรับในวงจรช่วยชีวิตที่ต้องใช้อย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
  • ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าไหลเกิน
  • จัดให้มีระบบระบายอากาศเพียงพอในกรณีติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในห้อง และต่อท่อไอเสียออกสู่ภายนอก หากมีไอเสียจากเครื่องยนต์
  • เตรียมเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสมสำหรับเพลิงไหม้จากไฟฟ้า และน้ำมันในห้องเครื่องอย่างเพียงพอ
  • ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการเชื่อมต่อขนานกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าประจำท้องถิ่น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากการไฟฟ้าท้องถิ่น

ทำไมต้องมีระบบสำรองไฟในอาคารโรงพยาบาล

เหตุผลที่หลายห้องในโรงพยาบาลจำเป็นต้องมีระบบสำรองไฟ และเครื่องปั่นไฟ เพื่อรองรับสถานการณ์ไฟดับ และรักษาความปลอดภัยของผู้ป่วย มีดังนี้

  • ป้องกันการชำรุดเสียหายของเครื่องมือแพทย์ เนื่องจากหากไฟฟ้าหยุดทำงาน เครื่องมือแพทย์ที่สำคัญจะไม่สามารถทำงานได้ ส่งผลกระทบต่อการรักษาผู้ป่วย
  • ในกรณีที่ต้องรักษาผู้ป่วยโดยด่วน การขัดข้องของระบบไฟฟ้าจะทำให้แพทย์ไม่สามารถทำการรักษาได้ทันเวลา
  • ผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือด่วน อาจไม่สามารถเข้าถึงระบบสัญญาณสื่อสารไปยังเจ้าหน้าที่ได้ ทำให้การช่วยเหลือล่าช้า
  • ตู้เก็บวัคซีน หรือยาที่จำเป็น ต้องใช้ไฟฟ้าเพื่อรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม หากไฟดับอาจทำให้วัคซีน หรือยาสูญเสียคุณภาพ
  • หากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้ป่วย หรือญาติไม่พอใจ อาจนำไปสู่การฟ้องร้อง และส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของโรงพยาบาล

สรุป

การทำงานของระบบไฟฟ้าประเภทสำรองไฟในโรงพยาบาล มีความสำคัญต่อความปลอดภัย และการให้บริการทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง ควรติดตั้งตามมาตรฐาน และข้อกำหนด เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เช่น เครื่องมือแพทย์อาจชำรุดเสียหาย หากไฟฟ้าหยุดทำงาน เครื่องมืออาจไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการรักษาผู้ป่วยนั่นเอง

Chuphotic มี UPS หลายรุ่น และหลายขนาดที่เหมาะสม สำหรับการใช้งานในโรงพยาบาล พร้อมให้คำปรึกษา และบริการหลังการขายที่ครบวงจร เพื่อให้มั่นใจว่าระบบไฟฟ้าของโรงพยาบาลจะทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ