5 ข้อเตือนภัย วิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย ห่างไกลอันตรายในหน้าฝน
อันตรายช่วงหน้าฝนไม่ได้มีแค่เรื่องอุบัติเหตุ แต่ยังมีอันตรายเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกด้วย ที่สำคัญคืออย่ามองข้ามอันตรายจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในหน้าฝน! เพราะอาจจะเกิดไฟรั่ว ไฟเกิน ไฟกระชาก มาดูวิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย 5 ข้อ ห่างไกลอันตรายในหน้าฝนไปพร้อมกันได้ในบทความ
เตือนภัยหน้าฝน! อันตรายจากเครื่องใช้ไฟฟ้า
สิ่งหนึ่งที่ควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในช่วงที่ฝนตก คือ การเกิดอันตรายจากเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น ไฟรั่ว ไฟกระชาก ไฟดูด ไฟช็อต รวมถึงการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร จนกลายเป็นเพลิงไหม้ ที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ฝนฟ้าคะนอง ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า จึงไม่ควรใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด หรือถ้าจำเป็นที่ต้องใช้งาน ก็ควรตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนการใช้งาน เพื่อป้องกันอันตรายจากเครื่องใช้ไฟฟ้า
ทั้งนี้นอกจากอันตรายจากเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ควรระมัดระวังด้วยเช่นกัน นั่นคือ อันตรายจากต้นไม้หรือกิ่งไม้ที่อยู่ใกล้สายไฟ เพราะเมื่อฝนฟ้าคะนอง มีลมกระโชกแรง อาจทำให้ต้นไม้ล้มทับสายไฟฟ้า หรือกิ่งไม้เอนและเกี่ยวสายไฟฟ้าจนชำรุดเสียหาย หากพื้นที่ไหนมีต้นไม้สูงอยู่ใกล้สายไฟฟ้า ก็ควรตัดแต่งกิ่งไม้เป็นประจำ ก็จะช่วยป้องกันอันตรายจากสายไฟฟ้าหรืออุบัติเหตุต้นไม้ล้มทับได้
5 ข้อระวัง! พร้อมวิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัยในหน้าฝน
มาดูสิ่งที่ควรเลี่ยง หรือควรระวัง พร้อมวิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย 5 ข้อ เพื่อตัวเองและคนรอบข้าง ดังนี้
1. ใช้ไฟฟ้าขณะตัวเปียกฝน
น้ำหรือความชื้น ถือเป็นอันตรายต่อใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด จึงควรหลีกเลี่ยง ป้องกันไม่ให้มีน้ำอยู่บริเวณเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อไม่เกิดอันตราย เพราะหากน้ำหรือความชื้นสัมผัสโดนเครื่องใช้ไฟฟ้า จะทำให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ นอกจากนี้ หากร่างกายเปียกฝนหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเปียกชื้น เมื่อสัมผัสกับเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น การเสียบปลั๊กไฟเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือการเปิดสวิตช์ไฟขณะที่มือเปียก ก็อาจจะเกิดอันตรายจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าสู่ร่างกาย เสี่ยงต่อไฟดูด ไฟช็อต จนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้ไฟฟ้า
เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในหน้าฝน จึงควรใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดด้วยความระมัดระวัง ไม่จับหรือเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าขณะที่มือเปียก ถ้าหากมีความจำเป็นควรเช็ดมือ เช็ดตัวให้แห้ง และยืนบนพื้นที่แห้ง ก่อนสัมผัสปลั๊กไฟหรือสวิตช์ไฟทุกครั้ง เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
2. ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าตอนฝนตก
อีกหนึ่งข้อเตือนภัยการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในหน้าฝน คือระวังอันตรายที่จะเกิดกับเครื่องใช้ไฟฟ้า ในกรณีฟ้าร้องหรือฟ้าผ่า เพราะฟ้าอาจผ่าลงมาที่เสารับสัญญาณนอกบ้าน หรือบริเวณใกล้เคียงที่อาศัยอยู่ จนทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าแรงดันสูงวิ่งผ่านเสาสัญญาณ เข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เชื่อมต่ออยู่ จนทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด เสียหาย และผู้ใช้งานอาจได้รับอันตรายได้
วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้ไฟฟ้า
วิธีการป้องกันอันตรายจากการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าขณะฝนตก ผู้ใช้งานควรหยุดการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท เช่น คอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ เพื่อป้องกันความเสียหายจากไฟกระชาก และช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆ ให้ใช้งานได้นานขึ้นอีกด้วย
สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยคือ การติดตั้งระบบตัดไฟอัตโนมัติ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เหมือนเป็นตัวช่วยป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่ระบบมากเกินไป ช่วยตัดกระแสวงจรไฟฟ้าส่วนเกิน เพื่อไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้านโหลดไฟมากเกินจำเป็น
3. วางเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ที่พื้น
สิ่งหนึ่งที่จะตามมาเมื่อเกิดเหตุการณ์ฝนตก พายุฟ้าคะนอง ก็คือ น้ำอาจรั่วซึมตามหลังคา ผนังห้อง หรือน้ำอาจท่วมพื้นที่บริเวณโดยรอบ หากวางเครื่องใช้ไฟฟ้ากับพื้นโดยที่เสียบปลั๊กทิ้งไว้ ไม่ว่าจะเป็นปลั๊กไฟ พัดลม หม้อหุงข้าว หรืออุปกรณ์อื่นๆ รวมถึงการไม่เก็บของไว้บนที่สูง ก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นในบริเวณนั้นได้ จึงไม่ควรวางปลั๊กไฟบนพื้น หรือไม่ควรวางหม้อหุงข้าวไว้ที่พื้นครัว เพราะเมื่อฝนตกหนัก น้ำฝนอาจรั่วซึมหรือไหลเข้ามาในจุดที่วางอุปกรณ์ ส่งผลให้เกิดอันตรายจากหม้อหุงข้าวหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ที่วางอยู่บนพื้นเปียก และอาจเกิดไฟรั่ว การโดนไฟดูด หรือโดนไฟช็อต จนเป็นอันตรายต่อชีวิต
วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้ไฟฟ้า
การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย และห่างไกลอันตรายจากเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงหน้าฝน ควรจัดเก็บหรือวางตำแหน่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความเสี่ยงต่อการโดนน้ำได้ง่ายไว้บนที่สูง เช่น บนชั้นวางของ หรือตู้เก็บของ ก็ช่วยให้มั่นใจได้ว่า น้ำฝน หรือน้ำรั่วซึม จะไม่เป็นอันตรายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่
4. ปลั๊กไฟไม่ได้มาตรฐาน
หลายบ้านอาจเห็นแก่ของราคาถูก จึงซื้อหรือสั่งปลั๊กจากออนไลน์มา แต่ปลั๊กที่ได้ไม่มีมาตรฐาน มอก. รองรับ อาจจะทำให้เกิดอันตรายจากเครื่องใช้ไฟฟ้าต่อการใช้งานในทุกสถานการณ์ เนื่องจากปลั๊กไฟเหล่านี้ มักจะผลิตจากวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน โครงสร้างหรือภายในแผงวงจรไฟไม่แข็งแรง มีการชำรุดเสียหาย ไม่สามารถจ่ายไฟได้ตามปกติ จนทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร ส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ได้
วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้ไฟฟ้า
สำหรับข้อเตือนภัยการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงหน้าฝน ควรเลือกใช้ปลั๊กที่มีมาตรฐาน มอก. เพื่อให้ได้ปลั๊กที่มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน ทั้งเต้ารับ เต้าเสียบ รวมถึงปลั๊กพ่วง เพราะผลิตจากวัสดุพลาสติกที่คงทน แข็งแรง ทนความร้อนสูง และไม่ติดไฟง่าย เต้ารับและเต้าเสียบเป็นแบบ 3 ขา เพื่อป้องกันไฟรั่วหรือไฟลัดวงจร และมีระบบตัดไฟเพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินกำหนด
นอกจากนี้ การเลือกใช้ปลั๊กไฟฟ้ากันกระชาก ยังช่วยป้องกันไฟกระชาก จากฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ไฟตก หรือไฟเกิน ที่อันตรายจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงหน้าฝนได้อีกด้วย
5. ละเลยการติดตั้งสายดิน
สิ่งสำคัญที่ผู้ไฟฟ้าหลายคนมองข้าม คือ การติดตั้งสายดิน หลายคนอาจคิดว่าไม่จำเป็นต้องติดก็ได้ แต่ความจริงแล้วผู้ใช้ไฟฟ้าทุกคนควรติดตั้งสายดินให้ถูกต้อง ก่อนการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เพราะหากไม่ติดตั้งสายดิน แล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดไฟรั่ว ไฟดูด ผู้ใช้งานก็จะได้รับอันตรายจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น การใช้งานเครื่องทำน้ำอุ่น ขณะที่ร่างกายเปียก หรือการไม่ติดตั้งสายดินกับเครื่องปรับอากาศ หากเกิดแรงดันจากฟ้าผ่า ก็จะทำให้ไฟรั่ว และอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว
วิธีป้องกันอันตรายจากการใช้ไฟฟ้า
เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกประเภทควรมีการติดตั้งสายดินก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานได้รับอันตรายจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า และควรติดตั้งสายดินให้ถูกต้องตามมาตรฐาน แท่งหลักดินต้องอยู่ในพื้นที่ที่มีดินล้วนเท่านั้น ไม่มีทราย กรวด หรือหินปะปนอยู่ เพื่อให้กระแสไฟฟ้าที่รั่วจากเครื่องใช้ไฟฟ้า สามารถไหลลงสู่พื้นดินได้อย่างปลอดภัย
เคล็ด(ไม่)ลับ ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างไรให้ห่างไกลความเสี่ยง
เคล็ด (ไม่) ลับ ใช้เครื่องไฟฟ้าให้ห่างไกลความเสี่ยงและอันตรายจากเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงหน้าฝน ทำได้ดังนี้
- โทรทัศน์: การเปิดโทรทัศน์ในขณะที่ฝนตก ฟ้าร้อง หรือฟ้าผ่า ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอันตรายอย่างมาก หากเป็นโทรทัศน์ที่ใช้เสารับสัญญาณ ยิ่งมีความเสี่ยงที่ฟ้าจะผ่าลงมาที่เสารับสัญญาณจนเกิดความเสียหาย รวมถึงโทรทัศน์ดิจิตอลรุ่นใหม่ก็อาจเกิดอันตรายได้เช่นเดียวกัน จากไฟกระชาก ไฟตกในช่วงฟ้าผ่า
ดังนั้นเพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงหน้าฝน ผู้ใช้งานควรปิดเครื่อง ถอดสายอากาศออกจากทีวีทุกครั้ง และไม่เปิดทีวีขณะที่ฟ้าร้องหรือฟ้าผ่า
- เครื่องปรับอากาศ: เมื่อเข้าสู่หน้าฝน ผู้ใช้งานควรหมั่นตรวจสอบมอเตอร์การทำงาน สายไฟ รวมถึงระบบการทำงานของเครื่องปรับอากาศทุกครั้ง ว่ามีจุดไหนชำรุดเสียหายหรือมีการติดตั้งสายดินเพื่อป้องกันไฟรั่วบ้างหรือไม่ หากพบว่ามีจุดที่ต้องแก้ไข ก็ควรรีบแก้ไขโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันปัญหาตามมา
- กริ่งไฟฟ้า: ช่วงเวลาที่ฝนตกหนัก น้ำฝนอาจซึมเข้าไปที่กริ่งไฟฟ้าได้ รวมถึงมือเปียกชื้น ก็ไม่ควรที่จะสัมผัสกับกริ่งไฟฟ้าโดยตรง เพราะอาจทำให้โดนไฟดูด แต่หากมีความจำเป็นต้องกดกริ่ง ควรใช้วัสดุที่ไม่นำกระแสไฟฟ้า อย่างเศษกิ่งไม้หรือพลาสติกเพื่อความปลอดภัย
อีกทั้งผู้ใช้งานควรตรวจสอบอุปกรณ์เป็นประจำว่ามีไฟรั่วหรือมีน้ำซึมหรือไม่ หากมีก็ควรเปลี่ยนโดยเร็วที่สุด หรือวิธีที่ดีที่สุด คือ เลือกใช้กริ่งไฟฟ้าที่มีฝาปิดก็จะช่วยป้องกันน้ำฝนได้โดยตรง
- คอมพิวเตอร์: การใช้งานคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตในช่วงที่ฝนฟ้าคะนอง อาจทำให้ฟ้าผ่าลงมาที่เสารับสัญญาณ ทำให้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ได้รับความเสียหาย รวมถึงบางครั้งที่เกิดไฟกระชาก ไฟตก ก็ทำให้คอมพิวเตอร์เสียหายได้เช่นกัน
ดังนั้น เมื่อฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง ก็ไม่ควรใช้งานคอมพิวเตอร์โดยเด็ดขาด และควรถอดปลั๊กออก เพื่อป้องกันความเสียหายจากระบบไฟฟ้าที่อาจขัดข้อง และยังช่วยยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์ได้ยาวนานขึ้นอีกด้วย
3 ขั้นตอนต้องรู้ เมื่อเจอคนโดนไฟดูด
ในหน้าฝน มีโอกาสโดนไฟดูดเพราะพื้นเปียกมาก ดังนี้มาดูวิธีช่วยคนเมื่อโดนไฟดูด ดังนี้
- ตัดวงจรไฟรั่ว อย่างแรกที่สำคัญในการช่วยคนโดนไฟดูด ควรสังเกตว่า มีไฟรั่วอยู่บริเวณพื้นไหนบ้าง จากนั้นดึงคัทเอาท์ลงเพื่อตัดวงจรไฟฟ้า และค่อยดึงปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออก ก็จะช่วยลดอันตรายจากเครื่องใช้ไฟฟ้าได้
หรือหากผู้บาดเจ็บกำลังสัมผัสกับบริเวณที่โดนไฟดูด หรือมีสายไฟพาดบนร่างกาย ควรนำวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ไม่นำกระแสไฟฟ้า เช่น กิ่งไม้ มาช่วยเหลือ และในการช่วยเหลือ ผู้ที่เข้าไปช่วยควรอยู่บนพื้นแห้ง และร่างกายต้องไม่เปียก - ย้ายคนออกจากบริเวณไฟรั่ว เมื่อช่วยเหลือเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้ผ้าแห้งห่อหุ้มบริเวณที่ถูกไฟดูด จากนั้นรีบย้ายผู้บาดเจ็บไปยังพื้นที่แห้งหรือพื้นที่ปลอดภัย ควรเคลื่อนย้ายอย่างถูกต้อง เพราะผู้บาดเจ็บ อาจมีอาการบาดเจ็บ หรือบาดแผลในส่วนอื่นๆ รวมถึงควรสำรวจว่าผู้บาดเจ็บมีบาดแผลอื่นๆ ที่เกิดขึ้นหรือไม่ด้วย
- ตรวจชีพจร เนื่องจากกระแสไฟฟ้าแรงสูงที่ไหลเข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้คลื่นหัวใจหยุดเต้นได้ ดังนั้น จึงควรตรวจชีพจรโดยใช้นิ้วมือคลำดูชีพจรที่ข้อมือหรือลำคอ หากพบว่าไม่มีสัญญาณของชีพจร ควรทำ CPR หรือนวดหัวใจพร้อมการผายปอดอย่างต่อเนื่อง และเรียกรถพยาบาลมารับนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
ติดตั้งระบบตัดไฟอัตโนมัติ (AVR) จาก Chuphotic ลดอันตรายจากหน้าฝน
เพื่อลดอันตรายที่จะเกิดกับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าในหน้าฝน และให้ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น ผู้ใช้งานจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว (Residual Current Device) จาก Chuphotic เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟดูด ไฟช็อต จากการสัมผัส ป้องกันอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นจากไฟรั่วภายในวงจร รวมถึงเครื่องป้องกันไฟรั่ว ยังสามารถใช้ตรวจสอบการไหลของกระแสไฟฟ้าว่ามีจุดไหนที่มีไฟรั่วบ้างหรือไม่ หรือมีจุดไหนชำรุดเสียหาย ก็ช่วยให้แก้ไขและซ่อมแซมจุดนั้นได้ทันที
สรุป
หน้าฝนมักมาพร้อมกับความเสี่ยงและอันตรายจากสภาพอากาศที่เปียกชื้น ที่เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น การเผลอเปิดสวิตช์หรือเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าขณะที่ตัวเปียก การเปิดดูโทรทัศน์ ใช้งานคอมพิวเตอร์ขณะฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ก็อาจเสี่ยงทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหาย หรือการไม่ติดตั้งสายดิน ก็เป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดไฟรั่ว ขณะใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงหน้าฝน จึงควรปฏิบัติตามวิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย 5 ข้ออย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และเพิ่มความปลอดภัยให้กับตัวคุณและคนรอบข้างได้อีกด้วย